การสอนอ่านทำนองเสนาะในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร TEACHING THAI POEM READING AT THE SECONDARY SCHOOL IN BANGKOK
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาในการสอนอ่านทำนองเสนาะ 2) ความต้องการการพัฒนาการสอนอ่านทำนองเสนาะ และ 3) การพัฒนาสื่อการสอนอ่านทำนองเสนาะระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 100 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูส่วนใหญ่อ่านทำนองเสนาะได้ด้วยตนเอง ใช้แถบเสียง แผ่นซีดี หรือให้นักเรียนที่อ่านได้ช่วยอ่านให้เพื่อนฟังเป็นบางครั้ง ใช้การอ่านทำนองเสนาะเป็นกิจกรรมเสริม เช่น อ่านในวาระพิเศษหรือวันสำคัญทางภาษาไทย ส่งนักเรียนอ่านประกวดตามสถาบันต่างๆ เป็นประจำ และอ่านประกอบการแสดงหรือเล่นละคร อ่านในกิจกรรมของชมรมเป็นบางครั้ง ด้านความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทต่างๆ พบว่า ครูทุกคนอ่านกลอนและกาพย์ยานี 11 ได้ คำประพันธ์ที่อ่านไม่ค่อยได้ คือ ฉันท์ ได้แก่ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 และอีทิสังฉันท์ 20 ปัญหาในการอ่านทำนองเสนาะ พบว่า นักเรียนไม่เห็นความสำคัญและไม่ให้ความสนใจในการอ่านทำนองเสนาะอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ครูผู้สอนไม่มีความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะเป็นปัญหาในระดับปานกลาง ปัญหาการขาดสื่อเพื่อใช้สอนอ่านทำนองเสนาะอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย 2) ความต้องการด้านการพัฒนาการสอนอ่านทำนองเสนาะ พบว่า ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ต้องการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านการฝึกอ่านทำนองเสนาะ ต้องการทราบเทคนิคในการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทต่างๆ และต้องการเข้ารับการอบรมการอ่านทำนองเสนาะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อยู่ในระดับค่อนข้างมาก และต้องการสื่อประเภทซีดีและดีวีดี เพื่อนำไปใช้ฝึกอ่านและใช้สอน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก 3) ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาสื่อการสอนอ่านทำนองเสนาะระดับมัธยมศึกษา และได้รับการประเมินโดยครูผู้สอน
คำสำคัญ : การสอน การอ่านทำนองเสนาะ
Abstract
This research was conducted to study: (a) situations and problems in teaching Thai poem reading and (b) the desire of teachers to develop Thai poem reading methods and materials at the secondary school level in Thailand. The participants were 100 secondary school teachers in Bangkok. Most teachers read Thai poems to their students, and used tape cassettes and CDs as teaching materials. The students who could read the Thai poems were asked to read them out loud to help the teachers. Thai poem reading was used for additional activities, such as readings at special events or on Thai Language Days. It was also used in Thai poem reading contests organized by Thai institutes, Thai performances or plays; and sometimes it was used in Students Club activities. With respect to the teachers’ Thai poem reading abilities, it was found that all teachers participating in this study could read Klon and Gap Yanee 11. They could not read well in Chan such as Sutulwigilita Chan 19 and Etisang Chan 20. Regarding Thai poem reading problems, it was found that the students did not see the importance of Thai poem reading and their interests in Thai poem reading was at the low level. Teachers’ problems related to their abilities to read Thai poems were at the intermediate level. It also was found that problems related to teaching materials were at the low level. The teachers’ desires to improve themselves by practice, to learn techniques in reading various kinds of poems, to participate in poem reading training programs at least once a year, and to use CDs and VCDs in their classroom teaching were at the high level. The results of this research study can be applied to teaching Thai poems in classrooms.
Keywords : teaching, Thai poem reading
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ