การจัดการพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์ A MANAGEMENT OF SPECIALIZED MUSEUM: A CASE STUDY OF MILLION TOY MUSEUM BY KRIRK YOONPUN
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางจากกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์ และเสนอแนะแนวทางการจัดการพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับ กลุ่มผู้ชมเด็ก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) 4 กลุ่ม คือ 1) เจ้าของพิพิธภัณฑ์ 2) ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ 3) ผู้เชี่ยวชาญพิพิธภัณฑ์ และ 4) กลุ่มผู้ชมเด็กอายุระหว่าง 5 – 15 ปี ผลการศึกษาพบว่า การจัดการพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์ มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง เนื่องจากเนื้อหาการจัดแสดงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับของเล่นร่วมสมัย ด้วยเหตุที่ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำเนินการจัดการโดยเจ้าของพิพิธภัณฑ์ จึงทำให้มีโครงสร้างและการจัดการแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางทั่วๆ ไป กล่าวคือ มีโครงสร้างพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ซับซ้อน ตลอดจนมีการจัดการที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า วัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สามารถตอบสนองกลุ่มผู้ชมหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ชมเด็ก สำหรับข้อเสนอแนะของการจัดการพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้เสนอแนะให้พิพิธภัณฑ์ควรพัฒนาฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์เป็นของตนเอง ใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการแสดงนิทรรศการ และพัฒนาเทคนิคการสื่อความหมายของสิ่งของจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
คำสำคัญ: การจัดการพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง แหล่งเรียนรู้
Abstract
This research aimed at studying the management of specialized museum management from the case study of the Million Toy Museum owned by Krirk Yoonpun, and providing further suggestions for the specialized museum management as a learning center for child visitors. The data were collected by interviewing 4 groups of stakeholders: 1) museum owner, 2) museum manager, 3) museum expert, and 4) child visitors aged 5 – 15 years old. The study revealed that the management of the Million Toy Museum by Krirk Yoonpun is characterized by its content of collections as the specialized museum since the museum collections are mostly related to contemporary toys. Due to the fact that this museum is managed by the museum owner, its structural organization and management differ from those specialized museums. That is, the structural organization is not complex, and the management is processed fast and effectively. Besides, the study found that the museum collections can serve various groups of visitors, especially the child visitors. For the suggestions of the management of specialized museum as learning center, this research finding recommended that the museum should develop its own museum database, use the multimedia equipments for the exhibition, and develop the interpretative techniques for the museum collections.
Keywords: Museum Manangement, Specialize Museum, Learning Center
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ