การวิจัยและพัฒนาเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์: กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่ชุด

ผู้แต่ง

  • ศีมาศ ประทีปะวณิช สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การพัฒนาเครื่องแต่งกาย, อีโคดีไซน์แฟชั่น, แนวคิดของเสียเหลือศูนย์, ผ้าไหมมัดหมี่ชุด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์: กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่ชุด มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบและผลิตเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์ และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบของเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์จากผ้าไหมมัดหมี่ชุดจำนวน 9 ชิ้น โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้านการพรรณนาวิเคราะห์จากแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความต้องการกลุ่มผู้บริโภคเป็นแนวทางในการออกแบบ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อคัดเลือกต้นแบบที่เหมาะสม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย

ผลการวิจัยพบว่าเทคนิคการออกแบบแบบตัดเป็นกระบวนการออกแบบและผลิตเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์ที่เหมาะสมที่สุด ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นในด้านความยืดหยุ่นของรูปแบบ และขนาดในการสวมใส่ ผ้าไหมมัดหมี่จำนวน 5 ชุดนำมาออกแบบและทดลองได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 18 ชิ้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ่านการประเมิน 10 ชิ้นอยู่ในระดับดีมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 มีความพึงพอใจมากที่สุดด้านขั้นตอนการประกอบสร้างมีความเหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 ความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ การตัดเย็บประณีต สวยงาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ราคาเหมาะสมกับรูปแบบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 สีและลวดลายผ้าตรงกับความต้องการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 วัสดุเหมาะสมกับรูปแบบ และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ม.ป.ป.). ภูมิปัญญาผ้าไหมไทย. สืบค้นจาก http://qsds.go.th/newqsds

จักรพันธ์ สุระประเสริฐ. (2558). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้าย: กรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายไทยลื้อ บ้านเฮี้ย อำเภvปัว จังหวัดน่าน. สืบค้นจาก http://libdoc.dpu.ac.th/research/160936.pdf

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ. (2550). การต่อสู้เพื่อพลิกเศษขยะให้กลายเป็นเงิน. สืบค้นจากhttp://www.gotoknow.org/posts/53173

ประชาชาติธุรกิจ. (29 พฤศจิกายน 2564). Eco-design แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ยุคใหม่. สืบค้นจาก www.prachachat.net/public-relations/news-811617

โพสต์ทูเดย์. (2562). กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับแบรนด์ไทย WISHARAWISH จัดงานแถลงข่าวการแสดงผลงานเครื่องแต่งกายผ้าไทยต้นแบบ กับคอลเลกชั่นผ้าไทยร่วมสมัย “จากแดนไกล”. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/pr/589661

มติชนออนไลน์. (2563). นายกฯเปิดงาน ‘ไหมไทยสู่เส้นทางโลก ปีที่10’ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.9-พระพันปีหลวง ทรงส่งเสริมผ้าไทย. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2475074

สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2555). คำบรรยายโครงการสัมมนาวิชาการ “แต่งผ้าไทยอย่างไรให้ทันสมัย”. สืบค้นจาก http://ica.swu.ac.th/upload/research/download/75-3823-0.pdf

สรวงระวี คุณธนกาญจน์. (2556). Eco Design: การเตรียมพร้อมรับมืออย่างรู้เท่าทันการค้าโลก. วารสารธุรกิจสีเขียว, ปีที่ 7(2), 1-30. สืบค้นจาก http://www.tei.or.th/publications/2013-download/2013-TBCSD-Greenbusiness-y7-2.pdf

สันทนา อมรไชย. (2552). ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, ปีที่ 57(179). สืบค้นจาก http://chm-thai.onep.go.th

Conscious life and Style. (2020). Zero Waste Fashion: What It Is + 7 Brands Implementing It Today. สืบค้นจาก https://www.consciouslifeandstyle.com/zero-waste-fashion/

Kate Fletcher, Lynda Grose. (2012). Fashion & Sustainability: Design for Change. London United Kingdom: Laurence King Publishing Ltd.

Timo Rissanen, Holly Mcquillan. (2017). Zero Waste Fashion Design. New York USA: Bloomsbury Publishing Plc.

Timo Rissanen. (2013). ZERO-WASTE FASHION DESIGN: a study at the intersection of cloth, fashion design and pattern cutting, Doctor of Philosophy – Design. University of Technology, Sydney. สืบค้นจาก http://epress.lib.uts.edu.au/research/bitstream/handle/10453/23384/01front.pdf?sequence=5

Zero Waste International Alliance. (n.d.). The Third Zero Waste Dialog. สืบค้นจาก https://zwia.org/history-of-zwia/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

ประทีปะวณิช ศ. (2024). การวิจัยและพัฒนาเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์: กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่ชุด. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 26(1), 72–86. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272645