การศึกษาแนวคิดและบทบาทของนิตยสารศิลปะในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2550 ที่มีต่อวงการศิลปะร่วมสมัยไทย

ผู้แต่ง

  • สิทธิธรรม โรหิตะสุข สาขาวิชาศิลปะจินตทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

นิตยสารศิลปะ, ศิลปะร่วมสมัยไทย, ทัศนศิลป์, ศิลปศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแนวคิดและบทบาทของนิตยสารศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2550 ที่มีต่อวงการศิลปะร่วมสมัยไทย โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ที่เน้นศึกษาวิเคราะห์ วิพากษ์หลักฐานทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง รวมถึงสัมภาษณ์บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิตยสารศิลปะในประเทศไทยที่เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า ในช่วงทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2550 นิตยสารศิลปะถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญที่ใช้สื่อสารความคิด ส่งผ่านและนำเสนอความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อวงการศิลปะ ช่วยเผยแพร่แนวคิดและผลงานของศิลปินให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตลอดจนเป็นพื้นที่นำเสนอการวิเคราะห์ วิจารณ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียงทางความคิด ทั้งยังนำเสนอความรู้ทางศิลปะและศิลปศึกษาจากภายนอกประเทศ ซึ่งได้ขยายขอบเขตของความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์สุนทรียะ และมุมมองทางศิลปะของคนในวงการศิลปะทุกภาคส่วนได้กว้างขวางมากขึ้น ในช่วงเวลาที่เป็นกรณีศึกษา นิตยสารศิลปะยังมีส่วนสนับสนุนพื้นที่และกิจกรรมทางศิลปะอื่น ๆ ของศิลปิน กลุ่มศิลปิน หอศิลป์ นิทรรศการศิลปะ การประกวดศิลปกรรม ตลอดจนแนวคิดและนโยบายของสถาบันการศึกษาทางศิลปะให้เผยแพร่สู่การรับรู้ของสาธารณชนด้วยเช่นกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. (2562). “ผมหาซาวนด์ใหม่ให้ชีวิตเสมอ: ก้าวที่ผ่านมาของประธาน ธีระธาดา กับก้าวใหม่ของ art4D,” สืบค้นจาก www.the101.world/pratarn เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567.

พิริยะ ไกรฤกษ์ และเผ่าทอง ทองเจือ. (2525). ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2523). “ภาพร่าง: บทบรรณาธิการ” ใน โลกศิลปะ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม-ธันวาคม 2523). หน้า 5.

สิทธิธรรม โรหิตะสุข. (2560). ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย: มองผ่านความเคลื่อนไหวของหอศิลป์เอกชนและการซื้อขายงานศิลปะในกรุงเทพมหานคร ทศวรรษ 2500 ถึงทศวรรษ 2530. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อโณทัย อูปคำ. (2557). บทบาทและอิทธิพลของพื้นที่ศิลปะทางเลือกโปรเจค 304 ที่มีต่อศิลปะร่วมสมัยไทย. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาทฤษฎีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาภาภัทร ธาราธิคุณ. (2565). “เรียนท่านประธานที่เคารพ ทิศทางใหม่ของประธาน art4D จากนิตยสาร ราคา 50 บาท สู่ Studio Monograph ที่พิสูจน์ว่าสิ่งพิมพ์ยังไม่ตาย,” สืบค้นจาก www.hemodernist.in.th เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

โรหิตะสุข ส. (2024). การศึกษาแนวคิดและบทบาทของนิตยสารศิลปะในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2550 ที่มีต่อวงการศิลปะร่วมสมัยไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 26(1), 102–114. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272160