การสร้างสรรค์งานประติมากรรมร่วมสมัย ชุดสัญลักษณ์สุพรรณ จากวัสดุท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • โดม คล้ายสังข์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ผลงานศิลปะสร้างสรรค์, ประติมากรรมร่วมสมัย, สัญลักษณ์สุพรรณ, วัสดุท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์งานประติมากรรมร่วมสมัย ชุดสัญลักษณ์สุพรรณจากวัสดุท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวด้วยประติมากรรมในรูปแบบงาน ลายเส้น Contour Art ที่มาจากรูปแบบจริง และสร้างเสริมให้เป็นจุดสนใจในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวสู่ชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนด้วย งานศิลปะสู่คนในชุมชนพร้อมแทรกซึมความรู้ทางศิลปะสู่ชุมชนด้วยความยั่งยืนทางศิลปะ 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้เทคนิค และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย ชุดสัญลักษณ์สุพรรณ จากวัสดุท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์ความเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปะที่แสดงออกถึงจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในชุมชนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยการร่วมสะท้อนความคิดเห็นของคนในชุมชนต่องานสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัย เป็นการสร้างสัมพันธ์ในชุมชนจากการออกแบบผลงาน เป็นผลงาน 3 ชิ้น ดังนี้ สัญลักษณ์ ต้นตาล ตลาดน้ำสะพานสูง สุ่มปลายักษ์ อำเภอสองพี่น้อง สัญลักษณ์รูปควายไทย ที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) Buffalo Village อำเภอศรีประจันต์ สัญลักษณ์รูปปลาน้ำจืด อำเภอเดิมบางนางบวช และสร้างคู่มือองค์ความรู้ จำนวนชุดละ 100 เล่ม เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนในเชิงศิลปะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 - 2564 ของกรมการท่องเที่ยว ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความสมดุลระหว่างจำนวนนักท่องเที่ยว และความสุขของชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จุลจักร โนพันธุ์ และ อุดมศักดิ์ พลอยบุตร. (2537) งานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช. หน้า 2 ในรายงานการสัมมนาวิวัฒนาการและวิสัยทัศน์ในงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขอนแก่น, คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยา เวียสุวรรณ และเพ็ญพักตร์ ลิ้มสัมพันธ์ (2549). หนังสือกลุ่มวิชากรงานและอำชีพงาน สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช. หน้า 2.

ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550). "การจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน" สำนักพิมพ์ใยไหม. กรุงเทพฯ แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 - 2564. (2561). กรมการท่องเที่ยว หน้า 31

แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 – 2564. (2561). กรมการท่องเที่ยว หน้า 31. กรุงเทพฯ: VIP COPY PRINT (วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น) วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(1), 1-6.

สุธิดา มาอ่อน นิรัช สุดสังข์. (2558). การสร้างสรรค์งานประติมากรรม“ความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินไทย”.

อรรมย์ ฟองสมุทร. (2544). “คุณค่าของพื้นที่สาธารณะในภาคอีสาน” ในรายงานการสัมมนา วิวัฒนาการและวิสัยทัศน์ในงานศิลปะร่วมสมัย ของศิลปินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น: คณะ ศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อังกฤษ อัจฉริยโสภณ และ ธวัชชัย พัฒนาภรณ์. (2559). “Contour” เส้นสมมุติสามมิติ (ออนไลน์เข้าถึงจาก : https://www.dooddot.com/contour-by-angkrit-ajchariyasophon-and-tawatchai-pattanaporn-numthong-gallery/).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

คล้ายสังข์ โ. (2024). การสร้างสรรค์งานประติมากรรมร่วมสมัย ชุดสัญลักษณ์สุพรรณ จากวัสดุท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 26(1), 10–21. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272085