เครื่องมือการละครเพื่อการตื่นรู้: การประยุกต์รูปแบบ “ละครย้อนแสดง” เพื่อเรียนรู้พุทธศาสนา
คำสำคัญ:
เครื่องมือการละคร, การตื่นรู้, ละครย้อนแสดง, พุทธศาสนาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการละครย้อนแสดงที่ส่งเสริมการเรียนรู้มิติภายในและการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ 2) ประยุกต์หลักขันธ์ 5 ทางพุทธศาสนาเข้ากับกระบวนการทางการละคร 3) ผลิตกระบวนการเรียนรู้ต้นแบบทางการละคร ที่เอื้อต่อการสำรวจมิติภายในและการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Practice as Research - PaR) ด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายความถนัดมาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ (collaborative process in research) ซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดแบบผสานศาสตร์ (inter-discipline) ได้แก่ แนวคิดเรื่องละครย้อนแสดง (Playback Theatre) แนวคิดเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Learning Facilitation) และ แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 (Five Aggregates) ในพุทธศาสนา งานวิจัยนี้เน้นที่การปฏิบัติและกระบวนการสะท้อนคิด ภายใต้กรอบการวิจัยแบบไม่ทดลอง (Non-experimental research) ซึ่งไม่มีการควบคุมตัวแปร ผลการวิจัยผลิตออกมาในรูปของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางการละคร (theatre workshop) พบว่า การใช้กิจกรรมละครย้อนแสดงด้วยเทคนิคจับคู่ขัดแย้ง (pairs conflicts) สามารถทำให้ผู้แสดงมองเห็นโลกภายในของตนได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังได้เรียนรู้จักการทำงานของอารมณ์และความรู้สึกได้ดีผ่านการแสดงออกทางกายด้วยกิจกรรมภาพนิ่ง (freeze frame) รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงเชิงสัญลักษณ์ (metaphoric object) จะสามารถเป็นสื่อให้เข้าใจโลกภายในได้จริง ทั้งนี้ ต้องระวังเรื่องการนำผู้เข้าอบรมไปสัมผัสอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานจนเกินไป กระบวนกรควรจะต้องมีวิธีนำกลับมาอยู่ ณ จุดที่อารมณ์เป็นกลางให้เหมาะสม ด้วยวิธีการฝึกสติเพื่อกลับมารู้ตัว เท่าทัน และเพื่อใช้ทบทวนในการมองกลับโลกภายใน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าละครนั้นเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการสร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง อีกทั้งยังพิสูจน์ได้ว่าละครและพุทธศาสนาสามารถเกื้อกูลกันได้ทั้งสองทาง
Downloads
References
กฤษณะ พันธุ์เพ็ง. (2021). แนวทางการแสดงแบบจิต-กายของฟิลลิปซาริลลี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(3), 138-151.
โครงการละครสะท้อนปัญญามูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม). (2555). เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา: การเดินทางของเยาวชนบนหนทางนักการละครเพื่อกาเปลี่ยนแปลง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ชุติมา มณีวัฒนา. (2022). พุทธทรรศนะในสื่อศิลปะการแสดงไทยร่วมสมัย. Journal of Communication Arts, 40(2), 41-65.
ธนัชพร กิตติก้อง. (2018). การขยายประสบการณ์ภายในของตัวละครด้วยวิธีปฏิบัติภาวนาทางพระพุทธศาสนา: กรณี ศึกษา ตัวละครนากจาก Land & Skin: The Ballad of Nak Phra Khanong. Journal of Fine Arts, Chiang Mai University, 9(1), 345-392.
พรรัตน์ ดำรุง. (2012). เปิดม่านละคร: ละครประชาชน ความเปลี่ยนแปลงภายในที่นำสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน. ใน มูลธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม), เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา: การเดินทางของเยาวชนบนหนทางนักการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง (หน้า 9-30). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
พรรัตน์ ดำรุง. (2014). ละคร ประยุกต์: การ ใช้ ละคร เพื่อ การ พัฒนา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และเครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย.
พระไพศาล วิสาโล. (2559). สรุปสั้น ๆ..พระพุทธเจ้าสอนอะไร? โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=_AG0t9-WgiU
รัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ. (2564). สู่ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์: คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ. กรุงเทพ: บริษัทเอเชีย ดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด.
วรภัทร ภู่เจริญ, (2562). ดร.วรภัทร ภู่เจริญ - ปัญญา 3 ฐาน (11/ 11/ 2562). สืบค้นจาก https://www.youtube.com/ watch?v=s2qOCJy-TG0&t=2698s
ศรุดา ศรีนิล. (2554). ภารตนาฏลีลา. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 1 (1), พ.ย. 2553 – เม.ย. 2554), 102 – 113.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
Fox, J., & Salas, J. (2020). Personal stories in public spaces: Essays on playback theatre. Tusitala Publishing.
Gonzalez, A. J., de Lima, M. P., Preto, L., Amarante, N., & Barros, R. (2024). Playback Theatre applications: A Systematic Review of Literature. The Arts in Psychotherapy, 102152.
Imagination Revealed. (2023). Playback Theatre. Retrieved from https://www.imaginationrevealed.com/home/ techniques/playback-theatre/International Playback Theatre Network. (2024). What is Playback Theatre. Retrieved from https://playbacktheatrenetwork.org/what-is-playback-theatre/
Maneewattana, C. (2014). Reading Samuel Beckett's in the light of Buddhism: a case study in the tradaptation of Waiting for Godot into a Thai Buddhist context (Doctoral dissertation, University of Bristol).
Salas, J. (2019). Improvising Real Life (20th Anniversary Edition): Personal Story in Playback Theatre. Tusitala Publishing.
Hunter, D. (2009). The art of facilitation: The essentials for leading great meetings and creating group synergy. John Wiley & Sons.
Wilson, E. & Goldfarb, A. (2016). Theatre: The Lively Art. (9th ed.). Boston: McGraw-Hill Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ