แนวคิดการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ขั้นสูงสำหรับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • โกมล ศรีทองสุข นิสิตหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปรวัน แพทยานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดงภาพยนตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเอกการออกแบบเพื่อการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แนวคิด, การพัฒนารูปแบบการสอน , ละครสร้างสรรค์, ทักษะการคิดขั้นสูง

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์แนวคิดการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื้อหาในบทความเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนาโมเดลการสอนกระบวนการละครสร้างสรรค์สำหรับครูเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัยศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสังเคราะห์จนได้ประเด็นเนื้อหาที่สำคัญ ประกอบไปด้วย 1.มาตรฐานการเรียนรู้และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.องค์ประกอบของทักษะการคิดขั้นสูง 3.แนวทางการพัฒนาและบทบาทของครูผู้ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน 4.บทบาทและทักษะของครูผู้สอนในฐานะผู้นำกิจกรรมละครสร้างสรรค์ 5.การจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ 6.กระบวนการของละครสร้างสรรค์ในห้องเรียน 7.ละครสร้างสรรค์กับการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ครูเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดรูปแบบการสอนที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย  ซึ่งพบว่าละครสร้างสรรค์เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง เพราะละครสร้างสรรค์มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูผู้สอนที่นำกิจกรรมละครสร้างสรรค์มาพัฒนาผู้เรียนควรมีพื้นฐานทางด้านละครเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ครูผู้สอนจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ค้นหาถึงรากฐานของปัญหา ค้นหาข้อเท็จจริงผ่านสถานการณ์สมมติที่สร้างขึ้น และออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทักษะการคิดเป็นทักษะที่สำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ส่งผลให้สามารถใช้ชีวิตในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ สามารถคิดและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องบนพื้นฐานของเหตุผลทั้งด้านคุณและโทษ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สืบค้นจาก https://www.academic.obec.go.th

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2542). ปฏิรูปวิธีคิดแบบไทยต้องคิดให้ครบ10มิติ. มองไกลไอเอฟดี.3, 1.

ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2546). รายงานผลการวิจัยการใช้ละครสร้างสรรค์ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ:

บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2547). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สราวุธ พัชรชมพู. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับ

นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์).สืบค้นจาก http://ns.nsru.ac.th/bitstream/nsru/135/1/Sarawut_Patcharachompu.pdf

เสถียร คามิศักดิ์. (2559). การทำงานเชิงสังเคราะห์ สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h396812.pdf

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ.กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

พรรัตน์ ดำรุง. (2547). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bruce Joyce and Marsha Weil. (1986). MODELS OF TEACHING, 3RD EDITION. Prentice Hall Inc.

Krulik, Stephen., & Rudnick, Jesse A. (1978). Problem Solving a handbook for Teachers. Allyn and Bacon.

Limbach, B., & Waugh, W. (2010). Developing Higher Level Thinking. Journal of Instructional Pedagogies, 3, 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28