ประติมากรรมร่วมสมัยสื่อจากอากัปกิริยาเชิงให้รู้สึกเสน่ห์หา ของ หญิงไทย
คำสำคัญ:
ประติมากรรมร่วมสมัย, อากัปกิริยา, เสน่ห์หา, หญิงไทยบทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัยสื่อจากอากัปกิริยาเชิงให้รู้สึกเสน่ห์หา ของ หญิงไทย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม กระตุ้นเตือนให้ชุมชน สังคม และผู้คนเห็นถึงการแสดงออกในยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏในสื่อออนไลน์ โดยการนำเสนอผ่านกระบวนการประติมากรรม เทคนิคการพรินต์ 3D PLA (Polylactic Acid) ประกอบ ไฟ LED 2) เพื่อเป็นองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์เทคนิคการพรินต์ 3D PLA (Polylactic Acid) จากผลงานประติมากรรมร่วมสมัยสื่อจากอากัปกิริยาเชิงให้รู้สึกเสน่ห์หา ของ หญิงไทย ต่อนักเรียน นักศึกษา นิสิตศิลปะ และผู้สนใจในงานประติมากรรมร่วมสมัย โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยสร้างสรรค์ให้เกิดความสุนทรียะในการถ่ายทอดมากที่สุด ผ่านมิติความสร้างสรรค์ รูปแบบปริมาตรทางมิติของผลงานงานประติมากรรม สื่อถึงอัตลักษณ์แนวทางสร้างสรรค์ของผู้วิจัยจากมุมมองสู่ผลงาน ลำดับขั้นตอนการดำเนินการวิจัยอย่างมีระบบเริ่มจาก การศึกษาอิทธิพลกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสร้างแนวความคิด เชื่อมโยงไปถึงตัวบุคคล ภาพสตรีในโซเชียลมีเดียที่ผู้วิจัยนำมาเปรียบเทียบกับกระบวนการสร้างสรรค์ สัญลักษณ์ที่เหมาะสมกับแนวความคิด ด้วยวัสดุให้เกิดรูปลักษณ์ทางประติมากรรม มุ่งเน้นความมีเสน่ห์ของภาพสตรีจากรูปทรง สัมพันธ์กับการสร้างชุดสตรีในชุดไทยประกอบเครื่องแต่งกายแบบไทยรูปแบบดังเดิมและร่วมสมัยในบริบทของ นาฏศิลป์ไทย ถ่ายทอดตามอัตลักษณ์ตามตัวละครนางในวรรณคดี ชุดแต่งกายประกอบเครื่องทรงชุดการแสดงของนาฏศิลป์ไทย ที่นำมาเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ ให้เหมาะสมกับบริบทของความเสน่ห์หา โดยมีดังนี้ นางวันทอง นางโมรา นางกากี จากความคุ้นชินด้านวรรณกรรมจากตัวละครตัวนาง กับภาพปรากฏของหญิงสาวที่แสดงออกผ่านสื่อโซเชียลในปัจจุบัน ด้วยมุมมองของผู้ชาย ในกระบวนความคิดของผู้วิจัยในมุมมองของสังคม แท้จริงแล้ว ภาพของหญิงสาวที่พบเห็นในสื่อโซเชียลแท้จริง เพียงอวดฉมให้เสน่ห์หา หรือเพ่งแสดงออกถึงการดูแลตนเอง เปรียบดังตัวละครในวรรณคดีที่ผู้วิจัยหยิบยกมา ดีชั่ว เริ่มต้นจากผู้ใด ในสังคมแห่งปัจจุบันที่ ทุกเพศล้วนแล้วมีแต่ความ เท่าเทียม พร้อมวิเคราะห์ผลงานตามหลักการทางทัศนธาตุ และเอกภาพของศิลปะ สู่องค์ความรู้นำเสนอถ่ายทดสู่สาธารณะชนต่อไป
Downloads
References
กชกรณ์ เหรีฉันทฤกษ์. (2551). วาทกรรมความงามของผู้หญิงในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร์บัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ถกิง พัฒโนภาษ (2551) สัญศาสตร์ กับ ภาพแทนความ. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แปลและขยายความ: บทความ Semiotics and Visual Representation อาจารย์ ดร. Brian Anthony Curtin กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันวา เบญจวรรณ (2552). เรือนร่างและความงาม พิจารณาความงามผ่านร่างกายและอุดมการณ์. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2010/08/30873.
สามารถ จับโจร. (2555). ประติมากรรมกับการสร้างสรรค์. นครราชสีมา. ตำรา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชศรีมา.
BBC News. (2014). Chris Bracey, neon sign designer and collector, dies at 59. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/news/entertainment-arts-29903736
GQ Magazine Subscription ออนไลน์. (2564). โน้ต-กฤษดา ภควัตสุนทร ศิลปินผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัวผ่านงานสร้างสรรค์หลากแนวทาง. สืบค้นจาก https://www.gqthailand.com/culture/art-and-design/article/multiple-views-of-note-kritsada/Landart
ศิลปะบนผืนโลก ความไม่จีรังยั่งยืนในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ. (2561). สืบค้นจาก https://themomentum.co/land-art/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ