เรือมอันเร: นาฏกรรมพื้นบ้านในประเพณีสงกรานต์เขมรถิ่นไทย

ผู้แต่ง

  • พงศธร ยอดดำเนิน สาขาวิชาการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

นาฏกรรมพื้นบ้าน, การแสดงพื้นบ้าน, สงกรานต์, เขมรถิ่นไทย, เรือมอันเร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงพื้นบ้านในประเพณีสงกรานต์เขมรถิ่นไทย ชุด เรือมอันเร ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการจัดกิจกรรมภาคสนาม มุ่งศึกษาการแสดงพื้นบ้านที่ปรากฏในประเพณีสงกรานต์เขมรถิ่นไทยพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีสงกรานต์ของชาวเขมรถิ่นไทยจัดขึ้นในช่วงเดือนที่ห้าตามจันทรคติ มีการแสดงพื้นบ้านนิยมเล่นเฉพาะประเพณี คือ เรือมอันเร มีรูปแบบการแสดงที่เป็นการเล่นและฟ้อนรำพื้นบ้าน โดยนำสากตำข้าวที่มีขนาดยาวจำนวน 1 คู่ มากระทบประกอบกับการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านและการขับร้องเพลง เรือมอันเรแบบดั้งเดิมมีรูปแบบการแสดงที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ฟ้อนรำล้อมวงที่มีการกระทบสากตำข้าวอยู่ตรงกลาง มีท่าทางการฟ้อนรำเดินข้ามและก้าวเท้าเข้าสากที่กำลังกระทบกันตามจังหวะเพลง และการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว บทเพลงและลีลาท่าทางการฟ้อนรำที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด แสดงถึงความอัจฉริยะของศิลปินพื้นบ้านที่สร้างความสุขให้แก่คนในชุมชนมาอย่างยาวนาน และเรือมอันเรได้ถูกพัฒนารูปแบบและขั้นตอนการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้านเชิงอนุรักษ์ สำหรับแสดงในวาระต่าง ๆ นอกเหนือจากประเพณีสงกรานต์ มีการกำหนดกระบวนท่ารำ ทำนองเพลง และเครื่องแต่งกายให้เป็นลักษณะเดียวกัน เรือมอันเรทั้งสองรูปแบบจึงเป็นเสมือนตัวแทนของนาฏกรรมพื้นบ้านและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม แสดงถึงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สืบทอดอย่างยาวนานของกลุ่มวัฒนธรรมเขมรถิ่นไทย

Downloads

Download data is not yet available.

References

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2554). ตำรานาฎกรรมพื้นบ้านอีสาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์: โครงการจัดทำตำราและงานวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ธนโชติ เกียรติณภัทร. (2564). ประเพณีสงกรานต์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

พนิดา บุญทองขาว. (2543). เรือมอันเร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัคกวินทร์ จันทร์ทอง. (2547). พัฒนาการเรือมอันเร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2558). การประชุมวิชาการนานาชาติ : การแสดงพื้นบ้านในอาเซียนศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (Folk Performing Arts). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สงบ บุญคล้อย. (2551). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สุภนิดา พรเอี่ยมมงคล. (2551). ดนตรีประกอบการละเล่นเรือมอันเรในจังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 4(2). 15-25.

อัษฎางค์ ชมดี. (2549). ในหลวง-ราชินี เสด็จฯ เมืองสุรินทร์ งานฉลองครองสิริราชสมบัติ 60 ปี และงานสมโภชศาลเจ้าหลักเมืองและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง พ.ศ. 2549. สุรินทร์: รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28