การศึกษาโครงเรื่องของนิทานไทยเรื่องสังข์ทองกับนิทานเวียดนามเรื่องกะลามะพร้าว (So Dua)
คำสำคัญ:
นิทานสังข์ทอง, นิทานกะลามะพร้าว, โครงเรื่องบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงเรื่องนิทานไทยเรื่องสังข์ทองกับนิทานเวียดนามเรื่อง กะลามะพร้าว (So Dua) ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) โดยกำหนดขอบเขตข้อมูลการวิจัยจากนิทานในแบบเรียนของไทยและแบบเรียนของเวียดนาม ได้แก่ นิทานไทยเรื่องสังข์ทอง ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และนิทานเวียดนามเรื่อง กะลามะพร้าว (So Dua) ฉบับของ Nguyen Khac Phi โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์โครงเรื่องนิทาน
ผลการวิจัยพบว่านิทานเรื่องสังข์ทองกับกะลามะพร้าว (So Dua) มีโครงเรื่องคล้ายกัน วิเคราะห์ตามแนวคิดของโครงเรื่องนิทานได้ 3 ตอนหลัก ได้แก่ ชีวิตพระเอกตอนแรกเกิด ชีวิตในวัยเด็ก และชีวิตแต่งงาน ชีวิตตอนแรกเกิดพบเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ คือ กำเนิดผิดปกติ การซ่อนรูป และการถูกขับไล่ ชีวิตในวัยเด็กพบเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ ได้แก่ การซ่อนรูปและการเผยร่าง และการถูกทดสอบ ช่วงชีวิตแต่งงานเป็นช่วงที่ยาวนานและเป็นตอนจบของเรื่องพบ 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การได้คู่ครอง การผ่านการทดสอบจนได้รับการยอมรับ และการจบเรื่องด้วยความสุข นิทานไทยเรื่องสังข์ทอง และนิทานเวียดนามเรื่องกะลามะพร้าว (So Dua) จึงเป็นนิทานของสองประเทศที่แสดงลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมจากนิทาน และบทบาทตัวละครเอกที่แสดงศักยภาพของมนุษย์ ความสามารถ และสติปัญญา ซึ่งเจ้าของนิทานทั้งสองวัฒนธรรมให้ความสำคัญ
Downloads
References
กุสุมา รักษมณี. (2559). วรรณคดีไทย: การเรียนรู้และสร้างสรรค์จากสังคมไทยสู่สังคมโลก ใน กุสุมาวรรณา 6: วิวิธวารประพันธ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรัฐิพร ไทยงูเหลือม, และ ประเทือง ทินรัตน์. (2557, มกราคม-มิถุนายน). ลักษณะร่วมทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทยกับนิทานพื้นบ้านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6 (1), 31-43. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/64214/52691
นิธิอร พรอำไพสกุล, สุภัค มหาวรากร และ Nguyen Kieu Yen. (2566). ภาษาและวัฒนธรรมไทยจากวรรณคดีเรื่อง สังข์ทองสำหรับนักศึกษาเวียดนาม. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2530). บทละครนอกพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2550). สังข์ทอง, บทละครนอก. นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
วงศกร ศรีระแก้ว, และ สุภัค มหาวรากร. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับข้าวในนิทานพื้นบ้านไทยและเวียดนาม. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 21-33. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/249595/170597
ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2539). ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น การศึกษาคติชนในบริบททางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน – นิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หนังสือเรียนอ่านเพิ่มเติม มานะ มานี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ฉบับปรับปรุงรูปเล่มและภาพประกอบใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.
Minh Long. (2018). So Dua. Hanoi : Nha xuat ban Van Hoc.
Nguyen Khac Phi. (2011). Ngu Van 6. Hanoi : NXB Giao Duc Viet Nam - Bo Giao Duc va Dao Tao.
Tran Truong Minh. (2012). So Dua in 100 Truyen co tich Viet Nam. Nha xuat ban Van Hoc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ