การพัฒนางานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สำหรับครูสอนศิลปะ

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ดวงขจร สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

หัตถกรรม, เครื่องปั้นดินเผา, ภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง นำมาถอดเป็นองค์ความรู้และถ่ายทอดให้กับครูศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ  1. ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาการตีหม้อของบ้านลำโพง 3. นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดให้กับครูศิลปะ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง จากการศึกษาเนื้อดินปั้นมีอัตราส่วนการผสมดินเหนียวในท้องถิ่น 70% ดินเชื้อ 30% มีความเหนียวสามารถขึ้นรูปได้ดีสามารถเผากลางแจ้งจากวัสดุธรรมชาติในอุณหภูมิประมาณ 700 องศาเซลเซียส 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการได้เรียนรู้ถึงลักษณะของเนื้อดินเผาพบว่ามีความพรุนตัวสูงเหมาะที่จะสร้างสรรค์เป็นภาชนะกระถางขนาดเล็ก บีบขึ้นรูปด้วยมือตกแต่งพื้นผิวด้วยการขูดขีด มีขาตั้งยกรูปทรง และปั้นแปะต่อเติมภาชนะเป็นรูปสัตว์ชนิดต่างๆ โดยเผากลางแจ้งแบบประยุกต์โดยใช้ถ่านไม้และฟางเป็นตัวให้ความร้อน มีควันน้อยและให้ความร้อนที่สูง โดยสังเกตจากสีดินที่เผามีสีส้มเคาะมีเสียงกังวานก็แสดงว่าชิ้นงานสุกสมบูรณ์ 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้กระถางดินเผาที่ปั้นโดยการบีบไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการขึ้นรูปจะมีก็เพียงอุปกรณ์ในการตกแต่งที่หาได้ทั่วไป สามารถที่จะนำมาถ่ายทอดให้ครูศิลปะไปใช้สอนในโรงเรียนได้จริงจากวัสดุและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการส่งต่อจากครูศิลปะสู่นักเรียนและเยาวชน

References

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่าง ยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.

จุมพฏ พงศ์ศักดิ์ศรี. (2562, กันยายน-ธันวาคม). กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 10(2), 4(3), 58-67. สืบค้นจาก http:// ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/234171

พีรพงษ์ พันธะศรี. (2561). เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์: กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพาราและเถาวัลย์ ในจังหวัดสงขลา.

ภรดี พันธุภากร. (2535). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเซรามิกส์ในจังหวัดชลบุรี.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2539). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:ต้นอ้อแกรมมี่.

วิโรฒ ศรีสุโร. (2528). ความหมายของศิลปะพื้นบ้าน. สืบค้นจาก : http://wasanart.blogspot.com.

อ้อยทิพย์ พลศรี. (2542). การสร้างรูปแบบหม้อดินสทิงหม้อ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30