เงื่อนไขการสร้างสรรค์สื่อนิทานประกอบภาพเพื่อการเรียนรู้โรคระบาดโควิด 19 สำหรับเด็กมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง สาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปัญญา เทพสิงห์ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านภาษา วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ในอาเซียนตอนล่าง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เกษตรชัย และหีม ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านภาษา วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ในอาเซียนตอนล่าง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขการสร้างสรรค์สื่อนิทานประกอบภาพเพื่อการเรียนรู้โรคระบาดโควิด 19 สำหรับเด็กมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อหลัก 6 กลุ่มโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) แกนนำชุมชนมุสลิม 2) ผู้นำศาสนาอิสลาม 3) นักวิชาการมุสลิม 4) นักสาธารณสุขมุสลิม 5) ประชาชนมุสลิม และ 6) เยาวชนมุสลิม  รวมทั้งสิ้น 18 คน ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulation) วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างบทสรุป นําเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบรายงานเชิงพรรณนาวิเคราะห์

          ผลการวิจัยพบว่า เงื่อนไขการสร้างสรรค์สื่อนิทานประกอบภาพเพื่อการเรียนรู้โรคระบาดโควิด 19 สำหรับเด็กมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเงื่อนไขสำคัญ 5 ประการ 1) เงื่อนไขด้านศาสนาและบริบทวัฒนธรรมมลายูมุสลิม การสร้างนิทานควรใช้อักษรยาวี ชื่อและตัวละครควรแสดงอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวละครสามารถแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมุสลิมที่เชื่อมโยงกับหลักศาสนาอิสลาม 2) เงื่อนไขด้านเนื้อหา ควรนำเสนอทั้งด้านบวกและด้านลบ เนื้อหามีความพอดี ระมัดระวังการนำเสนอประเด็นความเชื่อ ควรสะท้อนความเชื่อในศาสนา วิถีวัฒนธรรมมลายู และเนื้อหาควรถูกกำหนดโดยชุมชน 3) เงื่อนไขด้านภาษา ควรเลือกใช้ภาษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยเฉพาะภาษามลายูท้องถิ่น มลายูกลาง รวมถึงควรใช้ภาษาไทยร่วมด้วย 4) เงื่อนไขด้านภาพประกอบ ควรแสดงถึงสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรในชุมชน วัฒนธรรม ความรู้ และความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับอัตลักษณ์ชาวมลายูมุสลิม 5) เงื่อนไขด้านการเผยแพร่ ต้องคำนึงถึงกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร ผลของการสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กษริน วงศ์กิตติชวลิต ปิยณัฐ สุนทรประเสริฐ และ วรรณนิสา ปานพรม. (2565). คุณค่าที่ปรากฏในวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น จากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปี พ.ศ. 2560-2565. วารสารสังคมศาสตร์, 11(2),12-27.

เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา. (2566). หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กกับการเล่าเรื่องคุกคามทางเพศ. วารสารศาสตร์. ปีที่ 16 ฉบับที่1 (มกราคม-เมษายน 2566)

เกษตรชัย และหีม. (2560). เยาวชนมุสลิมกับพฤติกรรมตามวิถีอิสลาม. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). อุดมคติวิทยาหลักสูตรสังคมศึกษาเพื่อปวงชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิคม สุวพงษ์. (2565). การถอดบทเรียน : เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565

นีนนิมมาน ยอดเมือง. (2566). บารมีดีที่ตน: แนวคิดทศบารมีและกลวิธีการเล่านิทานชาดกสำหรับเด็กในสื่อใหม่. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566).

ปัญญา เทพสิงห์, เกษตรชัย และหีม, เก็ตถวา บุญปราการ, และเจตสฤทธิ์ สังขพันธ์. (2561). ลักษณะบ้านใน วัฒนธรรมมลายู: ศึกษากรณีกัมปงไอเยอร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(3), 190-201.

ผาสุก แก้วเจริญตา, มาลินี ยามา, ชัยรัตน์ ลำโป, และสุเทพ เพชรมาก. (2566). พลังเอื้ออารี พาคนปัตตานีฝ่าวิกฤติโควิด 19. ปัตตานี : สำนักงานสาธารสุขจังหวัดปัตตานี.

ไพบูลย์วรรณ จิตพัฒนกุล และศิริพร งามขจิต. (2566). การศึกษาลักษณะของตัวละคร ฉาก และองค์ประกอบการเล่า เรื่องจากภาพผ่านวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานระหว่างปีพุทธศักราช 2560 – 2565. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 205- 224.

ยุทธนา เกื้อกูล. (2566). การจัดการศึกษาในอิสลาม. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วินัย ครุวรรณพัฒน. (2523). ทัศนะของคนไทยใน 4 จังหวัดภาคใต้. (รายงานการวิจัย) ม.ป.ท.

อดัม คูชาร์สกี้. (2563). ระเบียบแห่งการระบาด. กรุงเทพฯ : บิบลิโอ.

อภิรัจ พุสวัสดิ์. (2564). นวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิวัฒน์ รัตนวราหะ. (2563). อนาคตศึกษา. พิมพครั้งที่ 2. เชียงใหม่.

อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2549). กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2559). ตัวตนคนมลายูมุสลิมในจังหวัดยะลา. วารสารกึ่งวิชาการรูสะมิแล. ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559.

อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง และจิรัชยา เจียวก๊ก. (2563). การถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563.

Aisyashafie. (2011). Definition of the Malay culture. Retrieved from http://www.studymode.com/essays/ Definition-Of-a-Malay-Culture-870351.html.

Helen Bee. (1975). Moral Development. The Developing Child London. United States of America.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28