แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชนไทย
คำสำคัญ:
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร, เยาวชนไทย, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชนไทย วิธีการดำเนินการวิจัยมีทั้งหมด 3 ระยะ ระยะที่ 1 คือ การศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาที่เคยเข้าร่วม การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร รวม 402 คน ใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ ผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวม 12 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 คือ การร่างแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร และระยะที่ 3 คือ การยืนยันแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร จากผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวม 5 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร 2-3 ครั้ง ในช่วงกุมภาพันธ์-พฤษภาคม โดยเป็นกิจกรรม 3 วัน 2 คืน เดินทางร่วมกับกลุ่มเพื่อน มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมและราคาที่จะจ่ายในอนาคตไม่เกิน 1,000 บาท รับข้อมูลจากโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชนไทยคือ ควรออกแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและนักท่องเที่ยว มีระยะเวลาและช่วงเวลาในการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับกลุ่มเยาวชน แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและมีที่พักแรมรองรับ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ปลอดภัย ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ โดยเฉพาะสัญญาณโทรศัพท์ และไฟฟ้า
Downloads
References
กนกพร กลิ่นเกลา. (2563). จุดยืนของ Gen Z – อนาคตโลกคืออนาคตเรา. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก http://www.salforest.com/blog/generationz-and-sustainability
กาญจนา สมมิตร และคณะ. (2556). โครงการการวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน. ปริญญานิพนธ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. ถ่ายเอกสาร
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). Voluntourism สร้างสรรค์ ห่วงใย ใส่ใจแบ่งปัน. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2016/menu-22016/718-22016-voluntourism
จารุเนตร วิเศษสิงห์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร
จีณัสมา ศรีหิรัญ, กมนภา หวังเขื่อนกลาง, รวิภา ในเถา และสมศักดิ์ ตลาดทรัพย์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การจูงใจนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดด้วยองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว เพื่อเข้าร่วมประเพณีฮีตสิบสองใน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(1): 32-50.
ชัชนันท์ เปลี่ยนดี. (2542). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนิสิต/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ. (2563, กันยายน-ธันวาคม). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด 19. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(3): 187-202.
ไทยพีบีเอส. (2553). เยาวชนไทยจิตอาสาลดลง. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จากdhttps://www.thaipbs.or.th/news/content/215152
บีแอลที แบงคอก. (2562). Lifestyle. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563, จาก https://www.bltbangkok.com/lifestyle/travelers-list/5110/
เปรม ถาวรประภาสวัสดิ์. (2562). มาตรการความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
ภาสกรณ์ อักกะโชติกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการที่พักประเภท โรงแรมรายวันของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาศศุภา นิ่มบุญจาช. (2558). การศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเขาสันหนอกวัว(อุทยานแห่งชาติเขาแหลม). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
ราณี อิสิชัยกุล. (2547). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: เกษตรศาสตร์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สื่อสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564, จาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2020/thai2020_11.pdf.
อิสระพงษ์ พลธาน. (2559). การท่องเที่ยวอาสาสมัคร ทางเลือกหรือสิ่งที่ควรเลือก สำหรับคนรุ่นใหม่. ในเอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. หน้า 1037-1042. นครปฐม: มหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Caissie, L. T., Halpenny, E. A. (2001). Volunteering for nature: Motivations for participating in a biodiversity conservation volunteer program. World Leisure Journal, 45(2): 38-50. Retrieved May 5 , 2021, from https://doi.org/10.1080/04419057.2003.9674315
Raymond, E. M., & Hall, C. M. (2008). The development of cross-cultural (mis) understanding through volunteer tourism. Journal of sustainable tourism, 16(5): 530-543.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.), New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ