การศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

ผู้แต่ง

  • อธิป เตชะพงศธร ภาควิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา ภาควิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

บทบาท, ลักษณะอันพึงประสงค์, ผู้กำกับภาพ, ภาพยนตร์ไทย

บทคัดย่อ

 

การวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาทัศนะที่มีต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ชนิดมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรผู้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลในประเทศที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ไทยในปัจจุบันทั้งสิ้น 243 คน ส่วนที่เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มผู้กำกับ ผู้กำกับภาพ และผู้อำนวยการสร้างทั้งสิ้น 8 คน เพื่อศึกษาในรายละเอียดเชิงลึกของบทบาทและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย 

ผลการศึกษาพบว่า ผู้กำกับภาพมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบอยู่ในทุกกระบวนการของการผลิตทำภาพยนตร์ ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาและทำความเข้าใจบทภาพยนตร์ การถ่ายภาพและการเล่าเรื่องด้วยภาพให้สื่อสารตามวัตถุประสงค์ของ  ผู้กำกับ การให้ข้อเสนอแนะในด้านการตัดต่อและการปรับแก้สีไปจนถึงส่วนลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพจะประกอบไปด้วยทักษะ 2 ประเภท คือ ทักษะหลัก (Hard skills) ประกอบด้วย (1) ความรู้ด้านภาพยนตร์และภาษาภาพยนตร์ (2) ความรู้และทักษะการถ่ายภาพยนตร์ (3) ความรู้ทางศิลปะ (4) การรู้จักภาพยนตร์ที่แตกต่างหลากหลาย (5) ความรู้และความถนัดเฉพาะทางที่สอดคล้องกับองค์รวมของงาน และทักษะรอง (Soft skills) ประกอบด้วย (1) ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (2) ทักษะการคาดเดาความคิดและความต้องการของผู้อื่น (3) ทักษะการบริหารจัดการและการวางแผนงาน (4) ทักษะการทำงานเป็นทีม (5) ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (6) ทักษะการคิดสร้างสรรค์  

References

นพดล อินทร์จันทร์. (2558). การศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับศิลป์ในภาพยนตร์ไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1 (31)), 57-67.

นพดล อินทร์จันทร์. (2557). ภาพยนต์ไทยในฐานะสินค้าทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2(2), 6-13.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. (2552). ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พับลิค บุเคอรี.

ปรวัน แพทยานนท์. (2560). การศึกษาบทบาทและทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 168-175.

ประวิทย์ แต่งอักษร. (2551). มาทำหนังกันเถอะ (ฉบับตัดต่อใหม่). กรุงเทพฯ : Bioscope ไบโอสโคป พลัส.

พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2544). การศึกษาทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของนักแสดงและผู้กำกับการแสดงละครโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2560). จำนวนแรงงานสร้างสรรค์ของไทย. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565. จาก. https://www.cea.or.th/th/single-statistic/creative-workforce

Brown, B. (2017). Cinematography: Theory and Practice: Image Making for Cinematographers and Directors. London, United Kingdom: Taylor & Francis Ltd.

Landau, D. (2015). Lighting for Cinematography: A Practical Guide to the Art and Craft of Lighting for the Moving Image. New York, United States: Bloomsbury Publishing PLC.

Oxford Economics. (2015). The economic contribution of the film and TV Industries in Thailand in 2015. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565, จาก. https://www.mpa-apac.org/wp-content/uploads/2018/05/MPAA_Thailand_2015_WEB.pdf

Wheeler, P. (2005). Practical Cinematography. United Kingdom: Focal Press.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30