ธุรกิจเมรุเมืองเพชร: พลวัตทางวัฒนธรรมของงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ชนัญญ์ เมฆหมอก วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เสมอชัย พูลสุวรรณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

เมรุเมืองเพชร, ธุรกิจช่าง, บริบททางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

พระเมรุมาศหรือพระเมรุ เป็นคติความเชื่อในเรื่องของการจำลองจักรวาลมาไว้เพื่อเป็นการแสดงเกีรยติยศของผู้วายชนม์ในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในสังคมไทยมีความนิยมสร้างสรรค์พระเมรุมาศมายาวนานสืบย้อนกลับไปได้อย่างน้อยในสมัยอยุธยา สำหรับใช้ในงานพระราชพิธีเป็นหลัก จวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์การออกเมรุก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่ได้เริ่มคลี่คลายมาเป็นการตั้งในงานของบรรดาขุนนาง และชาวบ้านที่มีเกียรติและเป็นที่ยอมรับนับถือโดยทั่วไป อันแสดงให้เห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมราชสำนักที่ส่งมาถึงท้องถิ่นโดยทั่วไป ความนิยมตั้งเมรุยังคงมีลักษณะของงานที่จัดขึ้นชั่วคราว เมื่อเสร็จสิ้นงานแล้วก็จะต้องทำลายหรือรื้อส่วนประกอบต่าง ๆ ของเมรุนั้นทิ้ง และสร้างขึ้นใหม่ในงานต่อไป บทความชิ้นนี้ต้องการแสดงให้เห็นการคลี่คลายเชิงความหมายและความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการตั้งเมรุในเมืองเพชรบุรี ภายใต้พลวัตทางวัฒนธรรมของงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้เขียนใช้วิธีการศึกษาแบบสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมกับการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านเอกสารและคำบอกเล่า และได้เสนอกรอบคิดที่ว่าเมรุลอยมีการปรับเปลี่ยนความหมายในวัฒนธรรมเมืองเพชรบุรี จากการเป็นสิ่งแสดงฐานะในวัฒนธรรมกระฎุมพี กลายเป็นรูปแบบธุรกิจแบบมวลชน ในสังคมทุนนิยมปัจจุบัน โดยพบว่ากลุ่มช่างตั้งเมรุในเพชรบุรีมีทั้งที่สืบทอดมาจากสำนักช่างเมืองเพชรในอดีตและกลุ่มช่างเกิดใหม่ ในช่วงหลังปี 2500 วัฒนธรรมของกลุ่มช่างเมรุเมืองเพชรได้เปลี่ยนแปลงไปจากในยุคก่อนหน้า จนทำให้เกิดการพัฒนามาเป็นธุรกิจการตั้งเมรุในปัจจุบัน ที่เข้ากันได้ดีกับระบบทุนนิยม ทำให้ความหมายของเมรุจากที่เป็นของชั่วคราวในแต่ละงาน มาเป็นของถาวรใช้ซ้ำได้ในงานศพโดยทั่วไป ผู้เขียนเชื่อว่าการศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะช่วยแสดงให้เห็นมุมมองใหม่ต่อการศึกษาเกี่ยวกับงานช่างในเมืองเพชรบุรีในแง่มุมอื่น ๆ ต่อไป.

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชนัญญ์ เมฆหมอก. (2560). สำนักและการสืบสานงานช่างไม้สายสกุลช่างเพชรบุรี. รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

นนทพร อยู่มั่งมี. (2559). ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

บุญมี พิบูลย์สมบัติ (บรรณาธิการ). (2530). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพวงศาจารย์ (อินทร์ อินฺทโช-โต) วัดยาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

บัวไทย แจ่มจันทร์. (2535). ช่างเมืองเพชร: อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ผศ.บัวไทย แจ่มจันทร์ 21 มิ.ย.2535. เพชรบุรี: โรงพิมพ์เพชรภูมิการพิมพ์.

ประพัฒน์ วรทรัพย์. (2544). เมรุลอยช่างอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ศศ.บ. (ไทยคดีศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏนครปฐม. ถ่ายเอกสาร.

ประทีป เพ็งตะโก. (2537). วัดไชยวัฒนาราม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พระครูปิยวัชรวงศ์ สิริปุญฺโญ. เจ้าอาวาสวัดสำมะโรง อ.เมือง จ.เพชรบุรี. สัมภาษณ์. 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560.

พรชัย เพชรปลอด. (2531). เมรุสกุลช่างเพชรบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศ.ป. (ประยุกต์ศิลป์ศึกษา). นครปฐม: คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

สมบูรณ์ แก่นตะเคียน. (2525). สมุดเพชรบุรี. จัดพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสงานฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดเพชรบุรี. พิมพ์ครั้งแรก. เพชรบุรี: เรือนแก้วการพิมพ์.

สมภพ ภิรมย์. (2539). พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

สัญชัย ลุงรุ่ง. (2550). การศึกษารูปแบ้บเมรุชั่วคราวสกุลช่างเพชรบุรี เพื่อทำการออกแบบเมรุชั่วคราวที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ สถ.ม. (วิชาสถาปัตยกรรมภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์). กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

ส.ต.อ. วีรศักดิ์ กองทรัพย์. สัมภาษณ์. 14 กันยายน 2559.

ส.ต.อ. วีรศักดิ์ กองทรัพย์. สัมภาษณ์. 14 ตุลาคม 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28