การสร้างพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมในเขตคลองสานสู่เมืองสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • สราวุธ ผาณิตรัตน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เมืองสร้างสรรค์, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, ทุนวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สืบค้นการใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในเขตคลองสานในฐานะที่เป็นทุนในการขับเคลื่อนสู่ความเป็นเมืองสร้างสรรค์ 2. การใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสรางสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของโครงการต่าง ๆ 3 โครงการได้แก่ โครงการเดอะแจมแฟคตอรี่ โครงการล้ง 1919 และโครงการไอคอนสยาม ซึ่งเป็นโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของเมืองและเศรษฐกิจในฝั่งธนบุรี การวิจัยใช้การสำรวจพื้นที่และแบบสอบถามแบบเฉพาะเจาะจงกับผู้ที่มีส่วนได้เสียในพื้นที่ อันประกอบไปด้วย คนในชุมชม ผู้ประกอบการจากโครงการทั้ง 3 ที่เข้าไปดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ ภายใต้กรอบแนวคิดเมืองสร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่เขตคลองสานมีการใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในฐานะทุนทางวัฒนธรรมดั่งเดิมทางประวัติศาสตร์ในเชิงศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ อาคารโรงสี ท่าเรือฮวย จุ่งล้ง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่นำมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นแรงดึงดูดการเข้าใช้บริการ มีการนำอาคารโรงสีข้าวเก่าในอดีตของโครงการ เดอะแจมแฟคทอรี่มาปรับปรุงเพื่อใช้เป็นอาคารรสำนักงานและที่จัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมต่างอันนำมาสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และมีการนำศิลปวัฒนธรรมไทยจากนอกเขตคลองสานใช้เป็นทุนในการขับเคลื่อนโครงการดิไอคอนสยามเพื่อทำให้พื้นที่เขตคลองสานพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก่อให้เกิดการจ้างงานและโครงข่ายธุรกิจสร้างสรรค์ต่าง ๆ ในด้านการท่องเที่ยว การยกระดับสินค้าระดับรากหญ้าสู่เวทีสากล

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). ทุนวัฒนธรรมไทยสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ. วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ปีที่ 58 (ฉบับเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2559): 6 สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564 จาก https://e-journal.dip.go.th/dip/images/ejournal/fd2eaa1aedd740f4b4e32346220a000d.pdf

ฐนิธ กิตติอำพน. (2553). เมืองและชุมชนสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564 จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2011/2011-apr-jun/313-city- community-create?showall=1&limitstart

พาฝัน รชตสกุล. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการ บริษัทดวงฤทธิ์ จำกัด. บริษัท ดวงฤทธิ์ จำกัด. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2560

สมสุข สมทรง. ประธานชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ. มัสยิดสุวรรณภูมิ. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2553). Thailand’s Creative Economy. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอในวันที่ 26 มีนาคม 2553. สืบค้นจาก http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php

เอื้ออารี ตรีโสภา. คณะกรรมการบริหารโครงการ (Executive Vice President). โครงการExecutive Vice President. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563

Arie Romein. (2009). Key Elements of Creative City Development: An Assessment of Local Policies in Amterdam and Rotterdamm of Capital” จาก https://www.researchgate.net/publication/40736378

Bordieu Pierre. (1986). Form of Capital” in David Thorsby Cultural Capital. Journal of Cultural Economics. 1999(23) : 3-12.

David Yencken. (1998). The Creative City. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564 จาก https://meanjin.com.au/essays/the-creative-city/

Florida, Richard. (2002). The Rise of the Creative Class. New York, Basic Books.

Kunihiro Hoda. (2015). Yokohama and Creativity: Urban Regeneration through Culture and Arts”. จาก https://www.researchgate.net/publication/284717491

ICONSIAM. (2019). พลังแห่งหัวใจไทย ที่ยิ่งใหญ่สะกดโลก. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.youtube.com/watch?v=u9WufNmWXmo&t=11s

Monica Liau. (2017). 1993: The Slaughtehouse of Shanghai. จาก https://theculturetrip.com/asia/china/articles/1933-the-slaughterhouse-of-shanghai/

Srisangnam. (2009). Creative Economy Lecture note prepared for Korean Study Programme. Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

UNCTAD. (2008). Creative Economy Report. United Nations 2008: 4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28