กระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง บนกระบวนทัศน์ของการพัฒนาแบบองค์รวม

ผู้แต่ง

  • สมสิทธิ์ อัสดรนิธี ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

บางปะกง, นิเวศวิทยาวัฒนธรรม, การเป็นผู้ประกอบการ, กระบวนทัศน์องค์รวม

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของกระบวนการทำงานที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางนิเวศวัฒนธรรม  และเพื่อศึกษาศักยภาพและการเปลี่ยนแปลงที่พบในผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของโครงการ   โดยเน้นการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในผู้เข้าร่วมการวิจัย 13 คนซึ่งแต่ละคนจะขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานอาชีพและความเชี่ยวชาญเดิมที่ตนมีผลการศึกษาชี้ว่า  จากทั้งหมด 13 ผลิตภัณฑ์ เมื่อพิจารณาตามกรอบ 8 ขั้นที่ใช้บ่งชี้พัฒนาการพบว่า มีอยู่ 5 ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสูง กล่าวคือมีระดับพัฒนาการถึงขั้นที่ 7 ซึ่งนอกเหนือจากจะสามารถขับเคลื่อนและยืนหยัดได้ด้วยตัวเองแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่และริเริ่มสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับภาคประชาสังคมได้ ส่วนคุณลักษณะของกระบวนการทำงานที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนสัมฤทธิ์ผลนั้น ประกอบด้วย  กระบวนการเตรียมความพร้อม ได้แก่ การศึกษาภูมิหลังของบริบท การปูพื้นความรู้และทักษะ การประสานความสัมพันธ์บนความเข้าอกเข้าใจและการมีส่วนร่วม การตั้งเจตจำนงร่วมกัน   และกระบวนการทำงานหลัก ได้แก่ การเปิดพื้นที่อิสระ การประสานผู้คนและเครือข่ายให้มาเจอกันและเกิดการร่วมมือ การหนุนเสริมการทำงานให้เคลื่อนตัวและมีทิศทางที่ชัดเจน   การได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการแต่ละคนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านต่าง ๆ จากการปฏิบัติจริง เกิดทักษะด้านการสื่อสารและถ่ายทอดประสบการณ์สู่สาธารณะ เกิดการตระหนักรู้เท่าทันในตนเอง เกิดสัมพันธภาพที่ดีบนความเข้าอกเข้าใจ และเกิดมุมมองใหม่ในการใช้ชีวิตและการทำงานที่จะยังประโยชน์ให้ผู้คนและธรรมชาติได้มากยิ่งขึ้น

References

จินตนา สุจจานันท์. (2554). การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2561). นิเวศวิทยามนุษย์: การศึกษาสิ่งแวดล้อมในมิติของสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เปาโล เฟรรี. (2560). การศึกษาของผู้ถูกกดขี่. (สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

พิบูล ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2552). การเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์. (2553). นิเวศวิทยา. ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. หน้า 131 – 137. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ, และกัญจน์ ทัตติยกุล. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28(2): 265-294.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2560). การเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุนันทา โอศิริ, ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ, สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, และ กัญจน์ ทัตติยกุล. (2562). โครงการวิจัยหยั่งรากบางปะกง: การพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกงบนฐานนิเวศวัฒนธรรม ระยะที่ 1 สร้างพลังจากรากฐานทางวัฒนธรรม จัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม และค้นหาพื้นที่ทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาชุมชน: แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา ประเด็นปัจจุบัน และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hunter, D., Thorpe, S., Brown, H., & Bailey, A. (2007). The art of facilitation: The essentials for leading great meetings and creating group synergy. Auckland, NZ: A Random House Book.

Kumar, S. (n.d.). Two articles on reverential ecology. Retrieved August 15, 2021, from https://www.reverentialecology.org/kyoto_interview.htm

Tho, H.V. (2016). GNH Centre Bhutan trainer’s manual [Training Manual]. GNH Centre Bhutan.

Wikipedia. (2018). Cultural Ecology. Retrieved August 15, 2021, from https://en.wikipedia.org/wiki/Cultural_ecology

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28