นัยการล่วงละเมิดทางเพศในวรรณคดีไทยโบราณ:กรณีสีดาถูกคุกคามทางเพศและวันทองถูกข่มขืน
บทคัดย่อ
THE IMPLICATIONS OF SEXUAL ABUSE IN THAI CLASSIC LITERATURE : THE SEXUAL HARASSMENT OF SIDA IN RAMAKIAN AND THE RAPE OF WANTONG IN KHUN CHANG-KHUN PAEN
บทคัดย่อ
การล่วงละเมิดทางเพศตัวเอกในวรรณคดีไทยโบราณ กรณีที่สีดากับวันทองถูกฉุดคร่า ข่มเหงน้ำใจ มีนัยที่สังเกตได้ว่า การถูกคุกคามทางเพศของตัวเอกหญิงทั้งสองเป็นชนวนที่นำไปสู่ความขัดแย้งในโครงเรื่องหลักของรามเกียรติ์กับขุนช้างขุนแผน โดยแม้ระหว่างที่สีดาถูกทศกัณฐ์ผู้มัวเมาในราคะลักพาตัวไป นางจะมีพรปกป้องไม่ให้พญายักษ์แตะต้องตัวได้ แต่อำนาจของการอวตารมาจากพระลักษมีและมีเทพเจ้า อุปถัมภ์ก็ไม่ใช่เหตุสำคัญของการรักษาความบริสุทธิ์เอาไว้ได้ เท่ากับที่ยึดมั่นในความจงรักภักดีต่อพระรามผู้เป็นสวามี ส่วนวันทองที่ต้องผจญกับการยื้อแย่งระหว่างขุนช้างและขุนแผน กระทั่งถูกขุนช้างข่มขืนถึง2คราว คือหลังจากขุนแผนได้ลาวทอง กับตอนที่ขุนแผนติดคุก และนางยังถูกขุนแผนเข้าหาพยายามจะร่วมประเวณีด้วยหลังจากลูกชายไปบีบบังคับเอาตัวมาจากเรือนขุนช้าง อย่างไรก็ดี วันทองยังคงให้อภัยได้กับสามีทั้งสองตามบรรทัดฐานของการเป็นภรรยาที่ดี ซึ่งยืนยันถึงการที่นางมีหลักยึดถือและบ่งบอกความละเอียดอ่อนทางจิตใจ แต่ความเห็นใจด้วยหยั่งถึงแรงรักและความเจ็บแค้นของสามีทั้งสองก็เป็นทั้งเหตุแห่งหายนะของวันทอง และข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงคุณค่าที่มีไม่แพ้สีดา ทั้งนี้แม้ตัวเอกทั้งสองจะถูกล่วงละเมิดทางเพศ ก็ไม่อาจด่วนสรุปว่าคือมลทินในชีวิต เพราะหลักการของภรรยาที่พึงรักมั่นต่อสามี ซึ่งตัวเอกหญิงทั้งสองยังรักษาเอาไว้ได้ สามารถบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ในการทนต่อแรงปะทะ ของชะตากรรมที่มีไม่ด้อยไปกว่ากัน
คำสำคัญ : การล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน คุณค่า ตัวเอก วรรณคดีไทยโบราณ
Abstract
Sexual harassment of Sida in Ramakien and the rape of Wantong in Khun Chang - Khun Paen lead to conflicts in the main plots of the two Thai classics. In the case of Sida, it is believed that she can maintain her purity despite the harassment of the lustful giant lord Tossakun because she is a reincarnation of Goddess Luksamee and a protege of arch deities. However, what is more important than these divine blessings is her steadfast fidelity to her husband, Phra Ram. As for Wantong, although being treated as a price-object of the fights between Khun Chang and Khun Paen, she still adheres to the social norms for a good wife. She forgives both of them despite being raped twice by Khun Chang after Khun Paen’s successful seduction of Laotong and during his imprisonment and being harassed by Khun Paen’s rape attempt after being forcefully brought back by her son from Khun Chang’s residence. Her conducts testifiy that she is a person of principles as much as of sensibility. She appreciates both men’s passions for her and sympathizes them for outrages against each other. Although her understanding and perceptiveness lead to her unfortunate death, they also reflect her virtue that was not less admirable than Sida’s. Both characters’ success in maintaining their principles of loyalty to their husbands indicates that their capabilities in withstanding the blow of fate were equally remarkable. Indeed, these two female protagonists prove that victims of sexual abuse should not also be victims of social condemnation.
Keywords : protagonist, rape, sexual abuse, Thai classic literature, values
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ