ถอดรหัสปริศนาธรรมท้องถิ่นชุดกายนคร โรงมหรสพทางวิญญาณสะท้อนภาพสัญลักษณ์ การเปลี่ยนรูปความนัยภาษาแบบใหม่ของงานทัศนศิลป์ร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ชัญญา อุดมประมวล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุชาติ เถาทอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปิติวรรธน์ สมไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ถอดรหัส, ปริศนาธรรมท้องถิ่น, กายนคร, โรงมหรสพทางวิญญาณ, สัญลักษณ์ทางปัญญา, การเปลี่ยนรูป, ทัศนศิลป์ร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัย เรื่องถอดรหัสปริศนาธรรมท้องถิ่นชุดกายนคร โรงมหรสพทางวิญญาณสะท้อนภาพสัญลักษณ์การเปลี่ยนรูปความนัยภาษาแบบใหม่ของงานทัศนศิลป์ร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและถอดแนวคิดปริศนาธรรมท้องถิ่นชุดกายนคร ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ภาษาภาพปริศนาธรรมท้องถิ่นสู่ผลงานที่แสดงถึงความหมายของปริศนาธรรม ในเชิงสัญลักษณ์ นามธรรม และรูปธรรม สร้างรูปลักษณ์ใหม่ สู่การสร้างผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัย ผลการวิจัยพบว่าภาพปริศนาธรรมท้องถิ่นชุดกายนคร เดิมพบในสมุดข่อยไทยจำนวน 47 ภาพ พระพุทธทาสภิกขุคัดเลือกเพื่อนำมาวาด ณ โรงมหรสพทางวิญญาณเพียง 23 ภาพ เพราะเป็นภาพที่พุทธศาสนิกชนสามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ส่วนภาพที่ไม่ได้ถูกคัดเลือกเพื่อนำมาวาดนั้นเนื่องด้วยเนื้อหาภาษาลายลักษณ์และภาษาภาพลักษณ์มีความลุ่มลึก เคร่งครัด ปฏิบัติได้ยาก เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาพระธรรมวินัยตามคำสอนในระดับเบื้องต้นจนเข้าถึงญาณสมาธิตามหลักโสดาบัน กายนครมุ่งสอนในเรื่องหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สะท้อนคุณค่าเชิงสังคมการปกครองภายในกายนคร ดำเนินเรื่องโดยการใช้ตัวละครในการเล่าเรื่องเพื่อให้เป็นไปในวิถีทางของ ศีล สมาธิ และปัญญา การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนำมาสู่แนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัย ที่มีการสื่อสาร 2 รูปแบบ คือ 1) ความหมายโดยอรรถ และ 2) ความหมายโดยนัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักทฤษฎีสัญญะวิทยา ทฤษฎีการรื้อสร้าง และทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ สังเคราะห์เนื้อหา ปริศนาธรรม สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ รูปแบบศิลปะสื่อผสม และศิลปะจัดวาง ภายใต้ ภายใต้ ชุด นัยกายนคร จำนวน 3 ชุด ได้แก่ชุดเมืองกาย ชุดสังสาระ และ ชุดสารัตถะและการดำรงอยู่ เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวอันเกิดจากการวิเคราะห์ตีความจากนามธรรม สู่รูปปธรรมที่มีความร่วมสมัย สร้างความกระตุ้นเตือนให้เกิด การตระหนักรู้ในเรื่องคุณค่าทางศาสนา ความงาม ศิลปะและวัฒนธรรม

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

เตือน พรหมมาศ. (2548) วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ

วิจัย สกว. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิซซิ่ง จำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. ภาพจิตรกรรมในโรงมหรสพทางวิญญาณ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภาศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา.

พุทธทาสภิกขุ. คำอธิบายภาพปริศนาธรรมไทยชุดกายนคร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ธรรมสภาศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา.

พรทิพย์ วนรัฐิกาล. (2536). รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์วรรณกรรมศาสนาเรื่องกายนครฉบับจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาพฝาผนัง โรงมหรสพทางวิญญาณ.จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม.

วิรัตน์ คำศรีจันทร์. (2554). โรงมหรสพทางจิตวิญญาณ สวนโมกข์: อีกวิธีเพื่อการรื่นรมย์เบิกบานของชีวิต.

อนุพงษ์ จันทร. (2560). สูจิบัตรนิทรรศการชุดลานบุญ – ลานกรรม. หน้า 23

หนังสือตายก่อนดับ death before dying การกลับมาของมณเฑียร บุญมา. หน้า 87.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2553). สูจิบัตร งอกเงยด้วยธรรมงดงามด้วยศิลป์. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน). หน้า 87

นพวงษ์ เบ้าทอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/Mai_Space-941638442585059/

ถวัลย์-ดัชนี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.fineart-magazine.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28