อุบายวิธีชนะเกมและการพึ่งพากันในนวนิยายดิสโทเปียเรื่อง THE HUNGER GAMES

ผู้แต่ง

  • ปรียาภรณ์ เจริญบุตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพึ่งพากัน ของตัวละครหลักในบทบาทของกลวิธีการชนะและเอาตัวรอด ในนวนิยายดิสโทเปียเรื่อง The Hunger Games ของ Suzanne Collins ผู้เขียนศึกษาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดสังคมวิทยา เรื่องความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันเพื่ออธิบายการพึ่งพากัน ระหว่างปัจเจกในสังคมอนาคต ผลการวิเคราะห์ชี้ว่าแคทนิส และพีต้า ที่ต่างต้องพึ่งพากันตลอดเกมการแข่งขัน การพึ่งพา เป็นองค์ประกอบของการคิดวิธีที่จะชนะเกม นอกจากนี้ผู้เขียน ยังพบว่าลักษณะความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันในระดับ สังคมเป็นปัจจัยภายนอกที่ทำให้กระชับความสัมพันธ์ แบบพึ่งพากันในระดับปัจเจกของแคทนิสและพีต้า การศึกษาครั้งนี้ ได้ทำให้เกิดมุมมองในการวิเคราะห์ตัวละครวัยรุ่นที่เชื่อมการศึกษา วรรณกรรมวัยรุ่นไปสู่สาขาวิชาอื่น และทำให้เกิดความเข้าใจ กลวิธีวิธีการสร้างตัวละครแห่งอนาคตของนวนิยายเรื่องนี้ที่ได้ เผยถึงการพัฒนาตัวละครด้วยแบบเฉพาะแห่งการอยู่เป็นคู่กัน ของปัจเจก

คำสำคัญ : ความสัมพันธ์แบบพึ่งพากัน นวนิยายดิสโทเปีย ฮังเกอร์เกมส์

Abstract

The article analyzes interdependent relationship between the main characters who both strive to survive with game winning strategies in Suzanne Collin’s dystopian novel, The Hunger Games. The writer uses a social theory to explain interdependence between individuals in this futuristic society. The analysis points that Katnis and Peeta depending on each other throughout the game is the factor of game winning strategies. Furthermore, the writer has found that interdependence between social groups plays an external cause of strengthening the individualistic interdependence between Katnis and Peeta. The study essentially connects young adult literature to other areas of study and sheds light on the novel’s futuristic characterization that creates character development through unique patterns of individualistic duality.

Keywords : dystopian novel, Hunger Games, Interdependence  

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ปรียาภรณ์ เจริญบุตร, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คณะศิลปศาสตร์

Downloads