การสร้างสรรค์ต้นแบบประติมากรรมจากการประยุกต์ของเหลือใช้ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน โดยแรงบันดาลใจจากศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ชญานิศ ต้นเทียน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมเพชรบุรี, ของเล่น, ศิลปกรรมพื้นถิ่นเพชรบุรี, คุณธรรมจริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างสรรค์ประติมากรรมต้นแบบการประยุกต์จากของหลือใช้ เช่น ของเล่น วัสดุจากธรรมชาติ ของที่อยู่รอบตัว รวมถึงวัสดุพื้นถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี เช่น ปูนตำเมืองเพชรมาทำการสร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นใหม่ที่มีการผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมในวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้เด็กและเยาวชนช่วงอายุ 6 – 8 ปี ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มตัวอย่างได้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เด็กได้ซึมซับมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นการประยุกต์หลักคุณธรรม 8 ประการในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นการสร้างความกลมกลืนระหว่างจริยธรรมในใจกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ เกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ได้เห็นขั้นตอนกระบวนการในการเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการคิด การวางแผน การถ่ายทอด อันเป็นการกระตุ้นการรับรู้และพัฒนาการทำงานสมอง สร้างประสบการณ์และภาพจำให้เกิดความประทับใจที่สามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ ซึ่งการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมแต่ละด้านในระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานจะเป็นการสร้างคุณลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ให้เด็กได้ซึมซับอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นธรรมชาติ แนวคิดการสร้างสรรค์ครั้งนี้มุ่งเน้นให้เด็กได้เห็นถึงความกลมกลืนระหว่างคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีความเจริญต่างๆ ทั้งวัสดุสมัยใหม่และวิถีชีวิตในปัจจุบันที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล เกิดคุณค่าแบบใหม่และได้มองเห็นสาระประโยชน์ในสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือเป็นแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้และแบบทดสอบประเด็นทางด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อทำการปรับปรุงกระบวนการสร้างสรรค์และการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

References

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

จรูญ จัวนาน. (2533). การพัฒนาเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นพวัฒน์ สมพื้น. (2540). ลายปูนปั้น งานช่างประณีตศิลป์ของไทย. กรุงทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

บัวไทย แจ่มจันทร์. (2538). ปูนปั้นเมืองเพชร, สูจิบัตรในนิทรรศการศิลปะปูนปั้นครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

พิจิตร นิ่มงาม. (2550). การปั้นปูนตำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

เพชรบุรีโพสต์. (2561). ประเพณีบวชพระขบวนแห่ม้าไม้. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2564, จาก https://www. facebook.com/watch/?v=134059622604377.

วิจารณ์ พานิช. (2557). สอนเด็กให้เป็นคนดี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล กรุงเทพมหานคร.

สมาคมวัวเทียมเกวียน. (2557). วัวเทียมเกวียน. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/boonnono/photos/a.1392943164297798/1397049387220509/.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว. (2563, สิงหาคม). ทักษะการคิดเชิงบริหารจัดการชีวติในเด็กปฐมวัย : การวิเคราะห์มโนทัศน์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 30(3). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2564, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/248438/168895

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2559). วัดใหญ่สุวรรณาราม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เศรษฐศิลป์.

Edgar, Dale. (1969). Audio-Visual Methods in Teaching. 3rd ed. New York: Rinehart & Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28