วิถีชีวิตที่เกี่ยวกับข้าวในนิทานพื้นบ้านไทยและเวียดนาม

ผู้แต่ง

  • วงศกร ศรีระแก้ว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุภัค มหาวรากร สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ข้าว, นิทานพื้นบ้าน, การเรียนรู้, ภาษาและวัฒนธรรมไทย, ผู้เรียนชาวเวียดนาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องข้าวกับวิถีชีวิตในนิทานพื้นบ้านไทยและเวียดนาม เพื่อกำหนดเนื้อหานำไปสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยเรื่อง ข้าวกับนิทานพื้นบ้าน สำหรับผู้เรียนชาวเวียดนาม ผลการศึกษาพบว่านิทานพื้นบ้านไทยและเวียดนามสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยและคนเวียดนามที่ผูกพันกับข้าวบนพื้นฐานความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ เช่น การนับถือแม่โพสพหรือแม่ขวัญข้าวร่วมกัน นำไปสู่การประกอบ พิธีทำขวัญข้าว ทั้งพิธีรับขวัญข้าว พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของไทย เต๊คเกิมเม้ย (Tết cơm mới) หรืองานบุญข้าวใหม่และเทศกาลติก เดี่ยน (Tịch Điền Đọi Sơn) หรือเทศกาลแรกนาของเวียดนาม ปรากฏการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในกระบวนการผลิตข้าว เช่น ใช้การตำข้าว สีข้าวเพื่อแปรสภาพข้าวเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังบริโภคข้าวเป็นหลักโดยทำเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง เช่น ขนมข้าวต้มมัดเวียดนามหรือขนมบั๊ญจึง (bánh chưng) ที่มีกรรมวิธีการทำแตกต่างจากขนมข้าวต้มมัดไทย หลังจากวิเคราะห์ วิถีชีวิตจากนิทานจึงคัดเลือกคำว่า          “แม่โพสพ” ซึ่งเป็นคำสำคัญที่ปรากฏร่วมในนิทานพื้นบ้านไทยและเวียดนามนำไปสร้างเป็นบทอ่านเชิงวัฒนธรรมประกอบอินโฟกราฟิกส์ “กำเนิดเทพธิดาข้าว” เนื้อหากล่าวถึงการเสียสละ เนื้อหนังของแม่โพสพเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชาวโลกและกล่าวถึงการออกตามหาแม่โพสพกลับโลกมนุษย์จนเป็นที่มาของพิธีทำขวัญข้าวของไทย นอกจากนี้ยังนำผลการศึกษาสร้างเป็นบทอ่านเสริมวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทยเวียดนามกล่าวถึงนิทานที่เล่าคล้ายคลึงกันว่า เดิมเมล็ดข้าวมีขนาดใหญ่แต่ถูกตีจนแตกทำให้เมล็ดข้าวมีขนาดเล็ก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมอาเซียน. (2558). แนวทางการใช้ตราอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20130404-120608-028839.pdf

กิ่งทอง มหาพรไพศาล. (2551). แม่โพสพ เทพธิดาแห่งต้นข้าว. วารสารวัฒนธรรมไทย. 47(6): 12-15.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2541). รายงานการวิจัยทางมานุษยวิทยา เล่มที่ 1 : วัฒนธรรมข้าวในสังคมไทยและ นานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนยา ด่านสวัสดิ์. (2555). การสอนวัฒนธรรมในบริบทโลกปัจจุบัน. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ.124(35): 70-81.

ตำนานข้าว ยอดอาหารอายุวัฒนะ. (2544). วารสารสถาบันอาหาร. 3(17): 23-25.

ทองแถม นาถจำนง. (2559). วัฒนธรรมข้าวไท. กรุงเทพฯ: ชนนิยม.

เทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร, กรมสมเด็จพระ. (2538). ข้าวไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.

นิธิอร พรอำไพสกุล และผกาศรี เย็นบุตร. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(2): 109-151.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประคอง นิมมานเหมินห์, ยรรยง จิระนคร, ศิราพร ณ ถลาง และสุกัญญา สุจฉายา. (2560). คติชนคนไทในวัฒนธรรมข้าว. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรมฤดี จรรยานันทจิต. (2554). แบบเรียนอ่านนิทานพื้นบ้านไทยสำหรับชาวต่างประเทศ. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ออนไลน์.

มณเฑียร เรียบเรียง. (2551). การศึกษาเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านในการทำนาของสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (ศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ออนไลน์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2556). คน ข้าว นา ควาย ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ปทุมธานี: พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไล ทิ เลียน และวิริยะ สิริสิงห. (2543). นิทานพื้นบ้านเวียดนาม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรรณา นาวิกมูล. (2559). สีสีนวัฒนธรรมข้าวอาเซียน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ

วิชา ทรวงแสวง. (2542). พระแม่โพสพ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. หน้า 4171. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2545). ชนชาติไทในนิทาน:แลลอดแว่นคติชนและวรรณกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: มติชน.

ส. พลายน้อย. (2506). ข้าวในโบราณคดี. วัฒนธรรมไทย. 3(5): 20-25.

สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). นิทานพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สถานีวิทยุเวียดนาม ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศแห่งชาติ. (2560). วิธีการทำขนมข้าวต้มมัดใหญ่เวียดนาม หรือแบ๊งห์จึง. สืบค้นจาก https://vovworld.vn/th-TH/คลิปวีดิโอ/วิธีการทำขนมข้าวต้มมัดใหญ่ เวียดนาม-แบ๊งห์ จึง-507047.vov

สถานีวิทยุเวียดนาม ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศแห่งชาติ. (2562). เต๊ดเกิมเม้ยของชนเผ่าไตในเขตเขา ตอนบน ของเวียดนาม. สืบค้นจาก https://vovworld.vn/th-TH/สีสันวัฒนธรรม54ชนเผ่าเวียดนาม/ เต๊ต-เกิมเม้ย-ของชนเผ่าไตในเขตเขาตอนบนของเวียดนาม-715051.vov

สถานีวิทยุเวียดนาม ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศแห่งชาติ. (2563). การแข่งขันหุงข้าวในหมู่บ้านถิเกิ๊ม. สืบค้นจาก https://vovworld.vn/th-TH/ชีวิตชนบท/การแข่งขันหุงข้าวในหมู่บ้าน-ถิเกิ๊ม-825713.vov

โสภนา ศรีจำปา. (2543). วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวเวียดนาม. ภาษาและวัฒนธรรม.19(1): 103-107.

เหงียน ถิ ทัน ถุย. (2559). วิเคราะห์ความเชื่อที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านเวียดนาม. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย). พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. ออนไลน์.

อัญชลี ทำทอง. (2554). ชุดการสอนสำหรับครูเรื่องการอ่านจับใจความโดยใช้นิทานพื้นบ้านสำหรับ นักเรียน ต่างชาติเยียร์11 (มัธยมศึกษาปีที่ 4) โรงเรียนนานาชาติเซนต์จอห์น. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอน ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ออนไลน์.

อัทธ์ พิศาลวานิช. (2558). ข้าวไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อำพล เสนาณรงค์. (2545). ข้าวในสังคมไทย. กสิกร. 75(4): 6-19.

ฮ. ศุภวุฒิ และธีรภาพ โลหิตกุล. (2562). ขวัญข้าว ขวัญชีวิต. วารสารวัฒนธรรมไทย. 58(3): 52-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28