สร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยจากบทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องวิวาห์พระสมุทร

ผู้แต่ง

  • สุจิรา สุขวัฒน์ กลุ่มงานวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • วิศิษฏ์ แก้วเอี่ยม ศูนย์วัฒนธรรม อำเภอเมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การแสดงร่วมสมัย, พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, วิวาห์พระสมุทร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “สร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว “เรื่องวิวาห์พระสมุทร” เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์งานศิลปะ (Art Creative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทละครด้วยการตีความและนำไปสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัย จากบทละครในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่สำหรับเป็นแนวทางการแสดงผลงานสร้างสรรค์ด้านนาฏศิลป์                          กระบวนการสร้างสรรค์การแสดงชุด “Love Forever and Ever” ตามรูปแบบนาฏศิลป์ไทยแบ่งได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างสรรค์แนวคิดโดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และสรุปตีความบทละครเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการสร้างสรรค์งาน  ขั้นตอนที่ 2 สร้างสรรค์ทำนองเพลง ดนตรีประกอบการแสดง เกี่ยวกับความรัก โดยใช้เพลงเกี้ยว เพลงรัก เพลงพลัดพราก เริ่มทำนองจากเพลงช้าและเร็วขึ้น เร้าอารมณ์การพลัดพราก อุปสรรค และจบด้วยเพลงรักสดชื่น  ขั้นตอนที่ 3 คัดเลือกผู้แสดงที่มีทักษะทางด้านนาฏศิลป์ ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบกระบวนท่ารำ  โดยใช้ท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยและท่ารำประยุกต์ ผสมผสานให้เข้ากับจังหวะดนตรี รวมถึงรูปแบบการแปรแถว ขั้นตอนที่ 5 ออกแบบชุดการแสดง ประกอบด้วย พัสตราภรณ์ ศิราภรณ์ ถนิมพิมพาภรณ์  เลือกใช้สีและวัสดุให้สอดคล้องกับการตีความบทละคร  เสื้อผ้าเน้นโทนสีฟ้าเปรียบท้องทะเล  เครื่องประดับศีรษะและร่างกายเน้นเป็นมุกสีขาวนวล แสดงถึงอัญมณีแห่งท้องทะเล  ขั้นตอนที่ 6 นำเสนอชุดการแสดงต่อผู้เชี่ยวชาญและผู้ชม  ขั้นตอนที่ 7 นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง พัฒนาการแสดงให้มีความสมบูรณ์  ขั้นตอนที่ 8 บันทึกวีดีทัศน์และนำเสนอชุดการแสดงในโอกาสต่างๆ ตามความเหมาะสม

References

กฤติยา ชูสงค์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. สัมภาษณ์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561.

จันทิมา กิ่งกูล และคณะ. (2555). การแสดงสร้างสรรค์ชุด “มนตราจันทราผลไม้”. ศิลปะนิพนธ์ นาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. ถ่ายเอกสาร.

จินตนา สายทองคำ. (2558). กระบวนการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด “สักการะเทวราช”. ผลงานวิจัย กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. ถ่ายเอกสาร.

จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธ์. (2559, มิถุนายน-พฤศจิกายน). งานทดลองการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยสมัยใหม่. ศิลปกรรมบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพา. 19(1) : 115-131.

เฉลิมพล จันทรโชติ. วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช. สัมภาษณ์วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561.

ธรรมรัตน์ โถวสกุล และ ขรรค์ชัย หอมจันทร์. (2549). รูปแบบและกระบวนการงานประดิษฐ์ในผลงานค้นคว้าริเริ่มทางนาฏศิลป์หรือศิลปะการละครของนักศึกษา โปรแกรมวิชานาฏศิลป์. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ถ่ายเอกสาร.

นวลกานต์ วิจิตลิมาภรณ์. (2533). สมเด็จพระมหาธีรราช ปราช์สยาม นิทรรศการพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในเดือนพระบรมราชสมภพ พระตำหนักทับขวัญ. นครปฐม : พระราชวังสนามจันทร์.

ประยูร เบญจวงศ์. (2532). สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้ากับการพัฒนาภูมิปัญญาของสังคมไทย. วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 11(2):2-15. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php.

พงค์พันธ์ เพชรทอง. กรมศิลปากร. สัมภาษณ์วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561.

พสิษฐ์สุธา มหายศนันท์ และคณะ. (2561). นาฏศิลป์สร้างสรรค์ระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระ. รายงานวิจัยคณะครุศาสตร์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. ถ่ายเอกสาร.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, (2556). วิวาหพระสมุท ท้าวแสนปม. กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.

เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา. (ม.ป.ป.). นาฏศิลป์สร้างสรรค์ “ระบำรวมเผ่าชาวเขา”. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). วิวาห์พระสมุทร. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki

สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2543). การละครไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

Lucid Stage. (2548). ความหมายของละครเวที. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก https://www.lucidstage.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29