การสร้างสรรค์ศิราภรณ์ไทยจากกระดูกไก่

ผู้แต่ง

  • ดนัย เรียบสกุล ภาควิชาศิลปะการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ศิราภรณ์, กระดูกไก่, ขยะอาหาร

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ศิราภรณ์ไทยจากระดูกไก่ ได้รับแรงบันดาลใจจากสภาวะขยะอาหารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ร่วมกับความสนใจด้านเครื่องประดับไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปทรงของกระดูกไก่ที่เหลือจากการรับประทาน สร้างสรรค์ศิราภรณ์ไทยจากกระดูกไก่ ประเมินคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมและการออกแบบ และ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการลดขยะอาหารและใช้เศษอาหารได้อย่างคุ้มค่า ด้วยการลงพื้นที่อยู่รอบมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยศึกษาร้านอาหารที่ใช้ไก่เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร เพื่อสำรวจเศษอาหารและศึกษาโครงสร้างกระดูกไก่ เพื่อเรียนรู้ชื่อเรียก รูปร่าง รูปทรง โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์ เรียนรู้ศิราภรณ์และเครื่องประดับไทย เพื่อให้ได้ข้อสรุปด้านรูปแบบที่จะใช้ในการสร้างสรรค์ การจัดเตรียมกระดูกไก่ คัดแยก ทำความสะอาด เลือกชิ้นส่วนต่างๆ ในศิราภรณ์ที่ควรมี จากนั้นทำการประกอบด้วยความประณีตตามแบบร่าง เพื่อให้ได้ศิราภรณ์ไทยจากกระดูกไก่ตามเป้าหมาย จากนั้นจึงประเมินผลงานในประเด็นต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและประเมินเป็นเครื่องมือวิจัยกับอาสาสมัคร ที่เข้าร่วมชมการจัดแสดงผลงาน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวรและการเผยแพร่จากสื่อต่างๆ ซึ่งได้แก่ สื่อโทรทัศน์ นิตยสารและสื่อออนไลน์จากสำนักข่าวต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าเศษกระดูกไก่มีทั้งหมด 3 รูปทรง คือ รูปทรงเป็นแท่งกลม ประกอบด้วย กระดูกจะงอยไหล่ กระดูกส่วนแขน กระดูกขา กระดูกท่อนแขนในและกระดูกโคนขา รูปทรงแบน ประกอบด้วย กระดูกอกและกระดูกตะโพก และรูปทรงเป็นหยัก ประกอบด้วย กระดูกคอกระดูกก้น โดยนำกระดูกรูปทรงต่างๆ มาสร้างสรรค์ศิราภรณ์ จำนวน 3 แบบได้แก่ มงกุฎ รัดเกล้ายอดและรัดเกล้าเปลว โดยมงกุฎ มีองค์ประกอบเสริม จำนวน 2 ชิ้น ได้แก่ ดอกไม้ทัดและอุบะ รัดเกล้ายอด มีองค์ประกอบเสริม จำนวน 4 ชิ้น ได้แก่ กรรเจียกจอน ดอกไม้ทัด อุบะ ท้ายช้อง รัดเกล้าเปลว มีองค์ประกอบเสริม จำนวน 4 ชิ้น ได้แก่ กรรเจียกจอน ดอกไม้ทัด อุบะและท้ายช้อง รวมทั้งสร้างสรรค์องค์ประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ภาพลักษณ์ของศิราภรณ์ทั้ง 3 แบบ มีความชัดเจนงดงามมากขึ้น จำนวน 9 ชิ้น ได้แก่ ต่างหู กรองศอ สังวาลย์ เข็มขัด กำไล ธำมรงค์ ดอกไม้ทัด อุบะและผ้านุ่ง สำหรับคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมและการออกแบบ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 852 ท่าน โดยภาพรวมด้านวัฒนธรรมมีระดับความคิดเห็น ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.73, S.D. 0.59) ในด้านคุณค่าการออกแบบมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.84, S.D. 0.40) ซึ่งความพึงพอใจที่มีต่อลักษณะโดยภาพรวมของศิราภรณ์ โดยมีความพึงพอใจด้านรูปทรง, ขนาด อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.75, S.D. 0.51 และ 0.52) รองลงมาด้านสัดส่วน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.73, S.D. 0.56) ตามลำดับ ทั้งยังได้ประเมินเครื่องประดับเสริมอื่นๆ พบว่า มีความพึงพอใจด้านวัสดุ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.76 , S.D. 0.66) รองลงมาด้านรูปทรง ,ขนาด และสัดส่วน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.72 , S.D. 0.55 , 0.51 และ 0.54) ตามลำดับ และการสร้างแรงบันดาลใจในการลดขยะอาหารและใช้เศษอาหารได้อย่างคุ้มค่าอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67, S.D. 0.71) มีข้อเสนอแนะในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งต่อไป จำนวน 150 ข้อความ ซึ่งสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านชื่นชมความสวยงาม 109 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 72.67 ด้านวัสดุ 13 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 8.67 ด้านการนำเสนอผลงาน 22 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 14.67 ด้านสิ่งแวดล้อม 4 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 2.67 ด้านประเพณี 2 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 1.33

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม. (2561). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝองของเสียอันตรายระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 (นนทบุรี) สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงพาณิชย์. (2563). ราคาเนื้อสัตว์ค้าส่ง (Online). www.moc.go.th, ตุลาคม 2563

จระกฤตย์ โพธิ์ระหงส์. (2555). การสร้างสรรค์กับงานศิลปะ. (Online). www.aoao555.wordpress.com, ธันวาคม 2563.

เฉลิมพล ดีพูน. สัมภาษณ์, 23 พฤศจิกายน 2563

นพกร คนไว. (2561). ร้านอาหารเหลือทิ้ง. กรุงเทพฯ: คิด Creative Thailand

พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร. สัมภาษณ์, 7 พฤศจิกายน 2563

เพชร มโนปวิตร. (2561). ร้านอาหารเหลือทิ้ง. กรุงเทพฯ: คิด Creative Thailand

มนตรี วัดละเอียด. (2550). วิวัฒนาการการแต่งหน้าและเครื่องแต่งกายโขนละครตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. (2552). วิวัฒนาการการแต่งหน้าและเครื่องแต่งกายโขนละครสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2559). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2552) สรุปผลการดำเนินโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรม 2552. กรุงเพทฯ: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์

สิงห์ อินทรชูโต. (2556). Upcycling พัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29