รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ที่สื่อให้เห็นถึงคุณค่าของปีกแมลงทับ และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ โดยผ่านมิติการแสดง

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • โสฬส มงคลประเสริฐ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กฤษณ์ติณ ล่องชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการสร้างสรรค์, ปีกแมลงทับ, นาฏศิลป์สร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องรูปแบบการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ที่สื่อให้เห็นถึงคุณค่าของปีกแมลงทับ และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ โดยผ่านมิติการแสดง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาคุณค่าและความสำคัญของปีกแมลงทับ 2) ค้าหารูปแบบ และองค์ประกอบการแสดงสร้างสรรค์นาฏศิลป์ที่สื่อให้เห็นถึงคุณค่า และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ของปีกแมลงทับ โดยผ่านมิติการแสดง 3) หาประสิทธิภาพของการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ในด้านความคิดสร้างสรรค์ ในด้านความเหมาะสม และความพึงพอใจ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยสร้างสรรค์ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาและสำรวจข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การลงพื้นที่ศึกษาและสำรวจข้อมูลภาคสนาม และประสบการณ์ของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหารูปแบบการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ที่สื่อให้เห็นถึงคุณค่าของปีกแมลงทับ และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ โดยผ่านมิติการแสดง ผลการวิจัยพบว่า

1. สีและรูปร่างของปีกแมลงทับมีความโดดเด่น สวยงามและมีอัตลักษณ์ตามธรรมชาติที่มีความสามารถอยู่คงทนถาวร ไม่ซีด หรือทรุดโทรม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงมีพระราชดำริให้นำปีกแมลงทับมาทดลองประกอบเป็นเครื่องประดับต่างๆ และได้ทรงมอบหมายให้ทางมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ นำปีกแมลงทับมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเผยแพร่งานทางศิลปหัตถกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. รูปแบบการสร้างสรรค์ที่สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของนาฏศิลป์ได้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การออกแบบการแสดง โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ช่วงที่ 1 คุณค่าทางด้านสุนทรียะ ช่วงที่ 2 คุณค่าทางด้านภูมิปัญญา ช่วงที่ 3 คุณค่าทางด้านเชิงพาณิชย์ 2) การคัดเลือกนักแสดงจากลักษณะทางกายภาพและความสามารถในการแสดง ตามรูปแบบของนาฏศิลป์ไทยร่วมกับสมัยใหม่ 3) การออกแบบลีลานาฏศิลป์โดยใช้จินตนาการในการเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของแมลงทับ และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย ผสมผสานการเคลื่อนไหวแบบร่วมสมัย 4) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงโดยใช้ผ้าสีเขียวเหลือบไพรมาเป็นสัญญะแทนปีกแมลงทับ 5) การออกแบบเสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงใช้เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีสากลโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาผสม 6) การออกแบบเครื่องแต่งกายแบบสมัยใหม่ โดยการออกแบบให้ความสำคัญกับการโชว์ครื่องประดับที่ทำจากปีกแมลงทับ โดยเลือกใช้ชุดสีขาว และรูปแบบชุดที่ดูพริ้วไหวในการเคลื่อนไหวร่างกายมาใช้ในการประดิษฐ์ 7) การออกแบบพื้นที่แสดงให้ความสัมพันธ์ของการออกแบบลีลาท่ารำ การแปรแถว การใช้แสงสีให้เหมาะสมแก่การแสดง และ 8) การออกแบบแสงสนับสนุนบรรยากาศของการแสดงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และมีความสัมพันธ์กับความรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการของผู้ชม

3. ผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน โดยมี ประสิทธิภาพในด้านความคิดสร้างสรรค์ผลงาน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยนเท่ากับ 4.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อผลงานด้านความเหมาะสมและความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยนเท่ากับ 4.56 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57

           

Author Biography

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์, สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2557). การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์นิพนธ์ (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระหว่างปีการศึกษา 2546-2550. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16(1): 79-92.

จินตนา สายทองคำ. (2561). กระบวนการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ ชุด สักการะเทวราช. ใน วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 10(1): 103-117.

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ไทยโดยใช้โมเดลซิปปา. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 36(2): 78-97.

_____________. (2563). การศึกษาสินค้าทางวัฒนธรรม สู่การออกแบบและสร้างสรรค์การแสดง. ใน วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 24(1): 77-96.

ลักขณา แสงแดง. (2563). แนวความคิดหลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 42(2): 122-135.

วิทวัส กรมณีโรจน์. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 42(2): 68-82.

สุรสิทธิ์ วิเศษสิงห์. (2557). อรรถรสในนาฏศิลป์ผ่านนาฏกรรมแนวใหม่ เรื่อง นารายณ์อวตาร. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 15(2): 135-140.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อนุรักษ์ เครือคำ, รัตติยาภรณ์ บุญทวีไพศาล และพุฒิสรรค์ เครือคำ. (2562). การศึกษาการทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับและแนวทางอนุรักษ์แมลงทับในอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. ใน วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36 (2): 91-100.

Naraphong Charassri. (2007). Narai Avatara, Performing The Thai Ramayana in The modern World. Bangkok: Amarin.

UNCTAD. (2008). Creative Economy Report 2008. United Nations. (Online). Accessed April 9 2020. Available from http://www.unctad.org/creative-economy.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29