การปรับบทวรรณคดีไทยในการแสดงลิเกทรงเครื่องของคณะกรณ์กัญจนรัตน์
คำสำคัญ:
การปรับบท, ลิเกทรงเครื่องบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การปรับบทวรรณคดีไทยในการแสดงลิเกทรงเครื่องของคณะกรณ์กัญจนรัตน์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำบทวรรณคดีไทยมาปรับใช้ในการแสดงลิเกทรงเครื่องของคณะกรณ์กัญจนรัตน์ โดยศึกษาจากบทวรรณคดีไทยกับบทลิเกทรงเครื่องเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาลานางจินตะหรา เรื่องพระอภัยมณี ตอนเพลงปี่พิฆาตและตอนหลงรูปนางละเวง เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพิพากษานางวันทอง
ผลการศึกษาพบว่า คณะกรณ์กัญจนรัตน์มีการนำเนื้อเรื่องจากบทวรรณคดีไทยมาปรับใช้ในการแสดงลิเกทรงเครื่อง ซึ่งในตัวบทที่ใช้ในการแสดงและการดำเนินเรื่อง มีทั้งการคงฉากเดิมและเหตุการณ์บางตอนที่ปรากฏในบทวรรณคดีไทย รวมถึงมีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม ตัดทอนตัวละคร ฉากและเหตุการณ์บางตอนของเนื้อเรื่องให้ต่างไปจากบทวรรณคดีไทย ซึ่งการเสนอเนื้อเรื่องจากบทวรรณคดีไทยที่นำมาปรับใช้ในการแสดงลิเกทรงเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า คณะกรณ์กัญจนรัตน์ยังคงรักษาคุณค่าด้านเนื้อหาของบทวรรณคดีไทยบางตอนเพื่อให้เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้ชมในยุคปัจจุบัน
Downloads
References
กรมศิลปากร. (2546). เสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน เล่ม 3. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ. คีตศิลปินอาวุโส. สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. สัมภาษณ์วันที่ 30 มิถุนายน 2563.
ผะอบ โปษะกฤษณะ , สุวรรณี อุดมผล. (2523). วรรณกรรมประกอบการเล่นลิเก. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทยฯ กระทรวงศึกษาธิการ.
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2546). บทละครเรื่องอิเหนา. พิมพ์ครั้งที่ 15.กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
วิโรจน์ วีระวัฒนานนท์. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลิเก) พ.ศ.2561. สัมภาษณ์วันที่ 30 มิถุนายน 2563.
สุนทรภู่. (2553). พระอภัยมณีของสุนทรภู่. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2553). “ลิเก” ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับการเรียนรู้ เล่มที่ 15. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ