แนวทางการออกแบบตัวละครและมาสคอตท้องถิ่นที่แสดงออกถึงความคาวาอี

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ โภคทรัพย์ไพบูลย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองศาสตราจารย์ อารยะ ศรีกัลยาณบุตร ศรีกัลยาณบุตร คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ตัวละคร, มาสคอต, คาวาอี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องแนวทางการออกแบบตัวละครและมาสคอตท้องถิ่นให้แสดงออกถึงความคาวาอีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความคาวาอีและวิเคราะห์หาแนวทางการออกแบบตัวละครและมาสคอตให้มีความคาวาอี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากมาสคอตท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น (Yuru-chara) ที่ได้รับรางวัลจากการประกวด Yuru-chara Grand Prix ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552-2562 ร่วมกับเกณฑ์คุณลักษณะความคาวาอีทางกายภาพ ใช้วิธีวิเคราะห์และเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัวละครและมาสคอต

จากการวิจัยพบว่าแนวทางการออกแบบตัวละครและมาสคอตท้องถิ่นให้แสดงออกถึงความคาวาอีทั้ง 5 ประการนั้น สามารถระบุเป็นรายละเอียดเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบได้ดังนี้ 1) ความน่าเอ็นดูเหมือนเด็ก (Childishness) ออกแบบโดยเน้นรายละเอียดของโครงสร้างทางใบหน้า เช่น ปากเล็ก จมูกเล็ก ดวงตาโต 2) ความเปราะบางหรือน่าทะนุถนอม (Vulnerability) ออกแบบโดยเน้นส่วนของรูปทรงหรือรายละเอียดของลายเส้น เช่น การใช้เส้นโค้งมนหรือทรงกลมเป็นหลักรวมไปถึงการลดทอนรายละเอียดให้ไม่ซับซ้อน 3) ความมีขนาดเล็ก (Smallness) ออกแบบโดยเน้นโครงสร้างตัวละครที่ดูเป็นเด็ก เช่น การใช้สัดส่วนแบบ S.D. หรือใช้องค์ประกอบเสริมตกแต่งที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 4) ความไร้เดียงสา (Innocence) ออกแบบโดยเน้นการแสดงออกทางท่าทางหรือพฤติกรรม เช่น การชูมือ ยกแขน ยกขา ทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่มักไม่ทำหรือคาดเดาไม่ได้ 5) ความหวาน (Sweetness) ออกแบบโดยเน้นรายละเอียดที่ให้ความสดใสหรือละมุนละไม เช่น การใช้สีสันสดใสหรือสีพาสเทลเป็นหลัก

References

ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล. (2556). Japan Did. กรุงเทพฯ: แซลมอน.

Chang, Eddy Y. L. (2017). Let the Yuru-Chara do the job: Japan’s Mascot Character Frenzy and its Socioeconomic Implications. Mirai. Estudios Japoneses. 1: 243.

Johnson, Geoff, and Okazaki, Manami. (2013). Kawaii!: Japan's Culture of Cute. New York: Prestel.

Kaneko, K. (2013). An Analysis of Japan’s Popular Cultural Tourism: Constructing Japan’s Self-Image as a Provider of “Unique” Culture. Global Journal of Human Social Science. 13(4): 4.

Little Thoughts. (2558) ความเจ๋งมวลรวมประชาชาติกับการเรียกคืนความแข็งแกร่งของญี่ปุ่น Cool Japan. กรุงเทพฯ: ลิทเทิลธอทส์.

Marcus, Aaron, et al. (2017). Cuteness Engineering: Designing Adorable Products and Services. New York: Springer, 2017

Nagase, Kai. (2016). What is the Exact Origin of “Kawaii”? - The “Kawaii 2.0” Theory Vol.2. Retrieved February 29, 2020, from https://tokyogirlsupdate.com/kawaii-2-0-theory-vol-2-20160176479.html

Nagase, Kai. (2016). Kawaii Culture Didn’t Exist at the Beginning of the Modern Age?! – The “Kawaii 2.0” Theory Vol. 3. Retrieved February 29, 2020, from https://tokyogirlsupdate.com/kawaii-2-0-theory-vol-3-20160381875.html

Oricon News. (2009). みうらじゅんインタビュー「最近、俺自身がゆるキャラになってる?」Retrieved January 18, 2020, from: https://www.oricon.co.jp/news/71089/full

Positioning. (2019). “สหพัฒน์” ขยายธุรกิจบริการ ลุยไลเซ่นส์ “คุมะมง” ปั้น “คิงส์ คอลเลจ” จุดหมายโรงเรียนอาเซียน. สืบค้นเมื่อ: 19 มกราคม 2563, จาก https://positioningmag.com/1236633

Sato, Kumiko. (2009, Fall). From Hello Kitty to Cod Roe Kewpie: A Postwar Cultural History of Cuteness in Japan. Education About Asia. 14(2): 38.

Tsutsui, William M. (2011). Japanese Popular Culture and Globalization. Michigan: Association for Asian Studies.

Ujitaka, Ito. (2018). “Kawaii” is the mainstream of Japanese aesthetics; encompassing a nuance of grotesque and infiltrating the surroundings. Retrieved July 29, 2019, from https://www.meiji.ac.jp/cip/english/research/opinion/Ujitaka_Ito.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29