การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง

ผู้แต่ง

  • ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรรณดี สุทธินรากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทรงธรรม ปานสกุณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ดนัย ฉลาดคิด นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวโดยชุมชน, กลุ่มชาติพันธุ์, ศักยภาพชุมชน, เส้นทางท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปคือเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงโดยมีวัตถุประสงค์ย่อย 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อค้นหาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว และ 2) เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ศึกษา ได้แก่ บ้านหนองเต่า บ้านดอกแดง บ้านขุนอมลอง บ้านจะโบ-ปะสี ในจังหวัดเชียงใหม่ และบ้านป่าแป๋ จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่อาสาตัวร่วมเป็นนักวิจัยท้องถิ่น 50 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยวในชุมชนท่องเที่ยว 120 คน ที่อาสาให้ข้อมูลแก่ผู้วิจัย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ เวทีชุมชน การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสะท้อนผลการเรียนรู้ และการระดมความคิด ผลการศึกษาพบว่า บ้านป่าแป๋มีศักยภาพชุมชนสูงสุดในขณะที่บ้านดอกแดงอยู่ในกลุ่มที่มีศักยภาพน้อยที่สุด ส่วนเส้นทางท่องเที่ยวที่เหมาะสมสรุปได้เป็น 4 เส้นทาง โดยมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวทำให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว สำหรับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สำคัญนั้นได้แก่ การยกระดับองค์กรชุมชน การประชาสัมพันธ์ผ่านอินเทอร์เน็ต การยกระดับโฮมสเตย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนาการท่องเที่ยว และพัฒนากิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมได้ภายใต้อัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

วรรณดี สุทธินรากร. (2558). แนวทางในการประสานความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรในภาคเกษตรกรรมตามโครงการ Smart Officer และ Smart Farmer. ใน วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10(2): 38-55.

วิทวัส กรมณีโรจน์ และนราพงษ์ จรัสศรี. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 21(2): 68-82.

ศิริพันธ์ นันสุนานนท์. (2563). แผนที่ชุมชนและการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตทุ่งครุกรุงเทพมหานคร. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 21(2): 83-93.

Lwoga, N.B. (2019). International Demand and Motives for African Community-Based Tourism. Geojournal of Tourism and Geosites. 25(2): 408-428.

Kanyapat Pattanapokinsakul & Panuwat Phakdee-auksorn. (2015). Analysis of Push and Pull Travel Motivation of Foreign Tourists to Local Markets: A Case Study of Phuket, Thailand. Journal of International and Thai Tourism. 11(2): 43-63.

Wandee Sutthinarakorn, Pattarawat Jeerapattanatorn, & Siriporn Tanjor. (2018). Development of Community-based Tourism in Trat Province to Link to Cambodia and Vietnam. International Journal of Management and Applied Science. 4(4): 74-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29