กลวิธีการตีกลองมลายูในเพลงเรื่องนางหงส์ กรณีศึกษาครูฐิระพล น้อยนิตย์
คำสำคัญ:
กลองมลายู, เพลงเรื่องนางหงส์, ฐิระพล น้อยนิตย์บทคัดย่อ
กลวิธีการตีกลองมลายูในเพลงเรื่องนางหงส์ กรณีศึกษาครูฐิระพล น้อยนิตย์ มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยดังนี้ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดการผูกเพลงเรื่องนางหงส์ของครูฐิระพล น้อยนิตย์ 2. เพื่อศึกษากลวิธีการตีกลองมลายูในเพลงเรื่องนางหงส์ของครูฐิระพล น้อยนิตย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ครูฐิระพล น้อยนิตย์ เป็นผู้ที่มีภูมิรู้ทางด้านดนตรีไทย ได้สร้างผลงานดนตรีไว้อย่างเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะผลงานการผูกเพลงเรื่องนางหงส์ชุดแรกไว้ถึง 12 เรื่อง ในการผูกเพลงเรื่องนางหงส์ทั้ง 12 เรื่องนั้น ครูฐิระพล น้อยนิตย์ ได้คำนึงถึงลูกตกของเพลงสามชั้นที่มีความหลากหลายของเสียง คือ ลูกตกเสียงโด เร มี และเสียงลา แล้วหาเพลงเร็วที่มีเสียงสัมพันธ์กับลูกตกกับเพลงสามชั้น โดยมีความสัมพันธ์การเชื่อมต่อเพลงคือ รูปแบบลูกตกห้องที่ 8 ของเพลงสามชั้นกับเพลงเร็ว มีลูกตกเสียงเดียวกันพบ 6 ครั้ง มีลูกตกไม่ตรงกันพบ 6 ครั้ง มีการสัมผัสเสียงจากลูกตกสุดท้ายของเพลงสามชั้นกับลูกตกเพลงเร็วห้องที่ 4 และจากลูกตกสุดท้ายของเพลงสามชั้นกับลูกตกเพลงเร็วห้องที่ 8 เป็นคู่เสียงที่พบมากที่สุดคือคู่สนิท 2) กลวิธีตีกลองมลายูในเพลงเรื่องนางหงส์ทั้ง 12 เรื่อง ครูฐิระพล น้อยนิตย์ได้สร้างสรรค์เทคนิคต่างๆ ไว้คือ การตีกลองในเพลงนางหงส์สองชั้น กับสามชั้น ยึดการตีกลองตามแบบดั้งเดิม ในเพลงนางหงส์หกชั้นมีการตีหน้าทับประกอบการเดี่ยวเครื่องมือ 3 หน้าทับ ได้แก่ หน้าทับนางหงส์หกชั้น หน้าทับนางหงส์สามชั้น และหน้าทับบัวลอย การตีกลองในเพลงสามชั้นจะให้ความสำคัญกับการเข้าเพลงและการบรรเลงตลอดทั้งเพลง การใช้หน้าทับนางหน่ายกับทำนองเพลงในรูปแบบต่างๆ และการตีหน้าทับในทำนองจบของเพลง และการตีกลองในเพลงเร็วถือว่ามีการสร้างสรรค์ จังหวะกลอง โดยใช้หน้าทับกลองนำก่อนการตีเข้าทำนองเพลงเร็ว กลองตีหน้าทับตามทำนองเพลง การตีที่บรรเลงทำนองเพลงเร็วไปก่อนแล้วหน้าทับกลองเข้าตีในระหว่างทำนองเพลง การนำทำนองเพลงเร็วมาขยายแล้วใส่หน้าทับกลองให้เข้ากับทำนอง การตีกลองมลายูนั้นผู้ตีกลองจะต้องมีทักษะที่ใกล้เคียงกับคู่ที่ตีด้วยกันและต้องเข้าใจในทำนองเพลงด้วย ครูฐิระพล น้อยนิตย์ ได้ออกแบบการตีกลองไว้แล้ว หากผู้ที่นำไปปฏิบัติทำให้ถูกต้องก็จะทำให้การบรรเลงเพลงเรื่องนางหงส์เกิดความไพเราะ
Downloads
References
ณรงค์ชัย ปิฏกรัชต์. (2557). เพลงเรื่องกับการพัฒนาศักยภาพนักดนตรีไทย. ใน หนังสือที่ระลึก 84 ปี ปูชนียาจารย์ ครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ).
มนตรี ตราโมท. (2527). วงดนตรีไทย. ใน โสมส่องแสง ชีวิตดนตรีไทยของ มนตรี ตราโมท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์; ชัยภัค ภัทรจินดา; และ อานันท์ นาคคง. (2539). ปี่พาทย์นางหงส์และเพลงนางหงส์. ใน หนังสือที่ระลึกงานไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2539 ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ห้องภาพสุวรรณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ