การศึกษาบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • กรีกมล หนูเกื้อ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, บทเพลงเทิดพระเกียรติ, วรรณกรรมเทิดพระเกียรติ

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีที่ขับร้องโดย นายธงไชย แมคอินไตย์ จำนวน 7 เพลง ในฐานะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ เนื่องจากวรรณกรรมเพลงถือเป็นวรรณกรรมรูปแบบหนึ่งที่ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเทิดพระเกียรติ  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ทรงครองราชย์ ผลการศึกษาพบว่าบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปรากฏลักษณะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ 3 ประการ คือ การเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม การกล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงทำเพื่อประชาชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน และการสื่อถึงความจงรักภักดีที่ปวงชนชาวไทยมีต่อพระองค์ ลักษณะดังกล่าวนี้ถือเป็นลักษณะของวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ ดังนั้นการศึกษาบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติและปรากฏการของเพลงเทิดพระเกียรติยังเกิดในช่วงปลายรัชสมัยอย่างมีนัยสำคัญ

References

กาญจนา ธรรมเมธี (2519). วิเคราะห์วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325 - 2411). ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถ่ายเอกสาร.

คณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังค,แห่งชาติ.

คำยวง วราสิทธิชัย, หม่อมหลวง. (2549, พฤศจิกายน). “มองวรรณกรรมพระราชพิธีในฐานะวรรรกรรมเฉลิมพระเกียรติ.” ใน วารสารวรรณวิทัศน์ 6(1): 31-71.

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ : ปาเจรา.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2515). วรรณกรรมอยุธยา. กรุงเทพฯ : รามคำแหง.

พัสวรรณ ศรีลานและนิธิอร พรอำไพสกุล. (2562, กรกฏาคม - ธันวาคม). “การพัฒนาชุดการเรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรมไทยโดยใช้บทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม.” ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 21(1): 10 – 20.

รัชนีกร รัชตกรตระกูล. (2561, พฤษภาคม - สิงหาคม). “เรื่องเล่าที่ดัดแปลงจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช: การศึกษาในฐานะวรรรกรรมเฉลิมพระเกียรติ” ใน วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 26(51): 70 – 91.

ยุพร แสงทักษิณ. (2537). วรรณคดียอพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรางคณา ศรีกำเหนิด. (2558, ฉบับพิเศษ). “โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน: จากบันทึกประวัติศาสตร์สู่การสร้างสรรค์วรรณกรรมยอพระเกียรติ.” วารสารวรรณวิทัศน์ 15(ฉบับพิเศษ): 33 – 76.

อรรถวิทย์ รอดเจริญ. (2552, มกราคม – มิถุนายน). “ลีลาภาษาในบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช.” ใน วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 16(1): 117 – 129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28