วิวัฒนาการพุทธศิลป์ในประเทศอินเดีย
คำสำคัญ:
พุทธศิลป์, อินเดียบทคัดย่อ
พระพุทธรูปถือว่าเป็นประติมากรรมที่สำคัญและสร้างสรรค์เป็นจำนวนมากที่สุด สืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะลัทธิเถรวาทเป็นที่ยอมรับนับถือต่อเนื่องกันมานาน จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน องค์พระพุทธรูปเปรียบเหมือนหัวใจของศิลปวัตถุทางศาสนา เพราะเป็นอุเทสิกเจดีย์ วัตถุประสงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า และเพื่อน้อมนำใจให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในพุทธประวัติ จึงได้กำหนดลักษณะอริยาบถหรือท่าทางของพระพุทธรูปปางต่างๆ ในแต่ละปางของพระพุทธรูป มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนเรื่องราวอันเป็นบุคลาธิษฐานและเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ ได้รับการกำหนดรูปแบบเป็นรูปธรรม มีอิริยาบถมหาปุริษลักษณะมากมาย เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน เป็นต้น ความงดงามทางด้านศิลปะในพระพุทธศาสนายังสื่อถึงปรัชญาของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นการเสริมสร้างความรู้สึก ความนึกคิด ความเข้าใจ และรู้จักการปล่อยวาง สามารถเป็นสื่อในการเข้าใจเข้าถึงธรรมะที่ลึกซึ้งได้เหนือคำบรรยายใดๆ
Downloads
References
ชะลูด นิ่มเสมอ. (2539). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
ทักษิณา พิพิธกุล. (2539, มกราคม-มิถุนายน). สุนทรียศาสตร์กับศิลปะ : จากการเสนอภาพตัวแทนถึงสุนทรียะเชิงสัมพันธ์. วารสาร
สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 17(2): 19.
บรรจบ เทียมทัต. (2543). กำเนิดพระพุทธรูปหลายสมัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2550). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ: หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2536). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรม. กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2529). ศิลปะไทยที่น่ารู้. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศิลป์ พีระศรี. แปลโดย ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน. (2515). ศิลปะสงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์การ
ทหารราบ.
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. (2520). พุทธศิลป์ล้ำเลิศควรเชิดชู. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อารี สุทธพันธ์. (2528). ศิลปะกับมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Jugal Kishor Bauddh. (2012). Kusinara : Where Lord Buddha Attained Mahaparinibbana. New Delhi : Gautam Printers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ