กำเนิดและพัฒนาการพุทธศิลปวัตถุสมัยต่างๆ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระราชปริยัติวิมล (ศรีสุระ) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กำเนิดและพัฒนาการ, พุทธศิลปวัตถุ

บทคัดย่อ

        กำเนิดและพัฒนาการของพุทธศิลป์ที่ปรากฏในประเทศไทยนั้น มีทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม        พุทธศิลป์เหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่มาจากอินเดียในช่วงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ได้จัดส่งพระสมณทูตออกเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกจากชมพูทวีป โดยเฉพาะปฏิมากรรมนั้น พระพุทธรูปถือว่าเป็นองค์เปรียบหรือสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า เป็นหลักฐานสำหรับให้คนรุ่นหลังทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นปูชนียบุคคลที่มีพระองค์อยู่จริง ความโดดเด่นของพุทธศิลป์ในแต่ละแบบที่เกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น พุทธศิลป์แบบหริภุญไชย ถูกผนวกรวมในพุทธศิลป์แบบทวาราวดี พุทธศิลป์แบบเชียงแสน-ล้านนา อาจจะผนวกรวมไว้กับศิลป์แบบสุโขทัย ส่วนพุทธศิลป์แบบสุพรรณภูมิและอโยธยาหรืออู่ทอง ก็อาจจะนำมารวมไว้กับศิลปะแบบอยุธยา อิทธิพลของการสร้างสถาปัตยกรรมในอินเดียมีบทบาทต่อการสร้างสถาปัตยกรรมไทยดังที่ปรากฏอยู่ทั่วไป นับตั้งแต่พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเป็นต้นมา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมศิลปากร. (2533). วิวัฒนาการพุทธสถานไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.
น. ณ ปากน้ำ. (2529). ความเป็นมาของสถูปเจดีย์ในสยามประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์ พลชัย.
__________. (2543). ปกิณกะศิลปะไทยในสายตา น. ณ ปากน้ำ : พระพุทธรูป. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2552, มกราคม-มิถุนายน). พระพุทธศาสนากับศิลปะในสังคมไทยในปัจจุบัน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 10(2): 28.
พระธรรมปิฎก. (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2540). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระมหาประภาส ปริชาโน. (2553). มองพุทธให้เข้าใจใน 5 นาที. กรุงเทพฯ: ธิงค์ บียอนด์.
พระมหาวิชาญ เลี่ยวเส็ง. (2544). “พุทธศิลป์กับการท่องเที่ยว : ศึกษาบทบาทของวัดในการอนุรักษ์พุทธศิลป์
เพื่อการท่องเที่ยว”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สงวน รอดบุญ. (2526). พุทธศิลป์รัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์. (2510). พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จำลองศิลป์.
Christmas Humphreys. (1951). Buddhism. Australia : Great Britian.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28