การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยชุด “ทิพยเทวาทาสี อัญชลีพระขพุงผีเทพดา”

ผู้แต่ง

  • นิรมล หาญทองกูล วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

คำสำคัญ:

เทวทาสี, พระขพุงผีเทพดา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาความเป็นมา บทบาทและความสำคัญของพระขพุงผี ตลอดจนวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวสุโขทัยที่มีต่อพระขพุงผีในจังหวัดสุโขทัย เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยชุด ทิพยเทวทาสี อัญชลีพระขพุงผีเทพดา จากวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวสุโขทัยที่มีต่อพระขพุงผี
           ผลการศึกษาพบว่า พระขพุงผีมีความสำคัญต่อความเชื่อความศรัทราของชาวเมืองสุโขทัยมาตั้งแต่อดีตในรูปแบบของผู้รักษาเมืองสุโขทัย มีการค้นพบเทวรูปสตรีในทิศเดียวกับข้อความในศิลาจารึกได้กล่าวว่าเป็นที่สถิตย์พระขพุง แต่ชาวเมืองสุโขทัยเชื่อว่าเทวรูปนี้คือ พระนางเสือง และเรียกว่า พระแม่ย่ามาจนปัจจุบัน ในการสร้างสรรค์ชุดการแสดง ทิพยเทวทาสี อัญชลีพระขพุงผีเทพดา ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดและขั้นตอนการออกแบบนาฏยศิลป์ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ในการสร้างสรรค์ตามองค์ประกอบการแสดงและวางแนวคิดสร้างสรรค์ชุดการแสดงเป็นระบำเพื่อการบูชาพระขพุงผีตามความเชื่อดั้งเดิม โดยใช้เพลงและเครื่องดนตรีประกอบเพลงมาจากแนวคิดเพลงโบราณคดี ชุดสุโขทัย ผู้แสดงหญิงล้วน จำนวน 8 คน สมมติให้เป็นนางกำนัลที่มีความสามารถในการฟ้อนรำ การแต่งกายมีลักษณะผสมผสานระหว่างอินเดีย ขอมและไทย ออกแบบกระบวนท่ารำตามโครงสร้างท่ารำ 4 ช่วงคือ เปิดตัว (ท่าออก) ขอพร (จังหวะ 2 ชั้น) ลีลานาฏยทาสี (จังหวะชั้นเดียว) ลาโรง (ท่าลา) โดยใช้ท่ารำจากเพลงช้า เพลงเร็ว และแม่บทนำมาดัดแปลง เพื่อสื่อความหมายประกอบการแปรแถวและตั้งซุ้ม

References

ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์. (2556). คติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยมีอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนากันแน่?. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ : ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (29) กรกฎาคม - ธันวาคม 2556.

ทองเจือ สืบชมภู. (2523). กฤษดาภินิหารพระแม่ย่าสุโขทัย. สุโขทัย. ม.ป.ท.

_________________ (25 เมษายน 2562). สัมภาษณ์. ปราชญ์พื้นบ้าน สาขาศิลปวัฒนธรรม ประจำปี 2543, ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย. อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย.

นราธิปพงศ์ประพันธ์. พลตรี พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2508). ชุมนุมพระนิพนธ์ของท่านวรรณฯ. พระนคร : สำนักพิมพ์ผดุงศึกษา.

พชรพงษ์ พุฒซ้อน. (2561. กันยายน). พระขยุงผีเทพยดา : "พระแม่ย่า" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัย. มูลนิธิเล็ก ประไพ วิริยะพันธ์. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562, จากhttp://lek-prapai.org/home/view.php?id=5388

โรม บุญนาค. (2559. มิถุนายน). พระขพุงผี ผีรักษาเมืองสุโขทัย! เชื่อกันว่าเป็นพระราชชนนีพ่อขุนรามคำแหง!!. โอเคเนชั่น. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561, จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000062063.

วิจิตรวาทการ. พลตรี หลวง. (2507). นาฏศิลป์. พระนคร : กรมศิลปากร.

ศิลปากร. กรม. (2527). จารึกสมัยสุโขทัย พิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง 700 ปีลายสือไทย พุทธศักราช 2526. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.

สุมาลิน วงศ์มณี, (16 พฤษภาคม 2562). สัมภาษณ์. ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านศาสนาและวัฒนธรรม คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย. อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29