การศึกษาวิเคราะห์บทไหว้ครูรำสวด จังหวัดจันทบุรี TEACHER SALUTATION ANALYSIS IN CHANTHABURI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • พิสุทธิ์ การบุญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิเคราะห์บทไหว้ครูรำสวด จังหวัดจันทบุรีใช้หลักการวิจัยทางมนุษยดุริยางควิทยา (Ethnomusicology) โดยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัยไว้ 3 ข้อ คือ 1) ประวัติและบทร้องไหว้ครูรำสวดคณะต่างๆ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีบทร้องไหว้ครูรำสวด และ 3) วิเคราะห์คุณค่าบทร้องไหว้ครูรำสวด ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของบทเพลงไหว้ครูรำสวดเกิดจากการประพันธ์ขึ้นเองจากหัวหน้าคณะรำสวด ซึ่งปัจจุบันในจังหวัดจันทบุรีมีคณะรำสวดจำนวน 8 คณะ คือ คณะป้าเกื้อ คณะผู้ใหญ่แพน คณะมงคล มรรคผล คณะมานะ ตากมัจฉา คณะแม่บังอร และคณะเจ๊เยาะ อายุในการก่อตั้งคณะรำสวดยาวนานตั้งแต่ 7 - 30 ปีขึ้นไป วัยของสมาชิกประกอบด้วยเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดถึงผู้สูงอายุ ขั้นตอนการแสดงรำสวดเริ่มจากหลังพิธีสวดพระอภิธรรม ซึ่งเป็นลักษณะครูพักลักจำสืบต่อกันมา การวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีบทร้องไหว้ครูรำสวด พบว่าใช้ทำนองสำเนียงต่างกัน คือ พม่า มอญ ไทย ลาว และรำสวดแบบโบราณ ใช้อัตราจังหวะ 2 ชั้นเป็นหลัก ใช้บันไดเสียงฟาและโด มีรูปแบบทำนองเพลงสร้อยสลับกับทำนองร้องและใช้ทำนองรับสลับกับทำนองร้อง นอกจากนี้การวิเคราะห์คุณค่าบทร้องไหว้ครูรำสวด ฉันทลักษณ์ที่ปรากฏเป็นคำประพันธ์ที่ผสมผสานกลอนลิเกและกลอนสุภาพเข้าด้วยกัน คุณค่าของบทเพลงทางด้านวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกัน เป็นการแสดงความเคารพพระคุณของสิ่งต่างๆ คุณค่าของบทเพลงทางด้านภาษา ใช้คำสัมผัสสระระหว่างวรรคและภายในวรรค สัมผัสอักษรระหว่างวรรคและภายในวรรคอย่างไพเราะหลากหลาย บางคณะได้ใช้คำภาษาพื้นบ้านแบบโบราณ ซึ่งมีความคล้องจองและมีความหมายคู่กัน หรือภาษาที่แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน

คำสำคัญ: รำสวด บทไหว้ครู จันทบุรี

Abstract

            The analysis of dancing and chanting for paying respect to teachers chapter of Chanthaburi Province is using the ethnomusicology research principle with 3 research objectives as follows: 1) History and the dancing and chanting for paying respect to teachers chapter of different troupes 2) to analyse the musical elements of dancing and chanting for paying respect to teachers chapter and 3) to analyse the value of dancing and chanting for paying respect to teachers chapter. It is found, under the research, that chant music were composed from leader of chanting troupes. In present, there are altogether 8 dancing in Chanthaburi and chanting troupes as follows: Pa Kua troupe, Phu Yai Pan troupe, Mongkol troupe, Makphol troupe, Mana troupe, Tak Majcha troupe, Mae Bang-on troupe and Jeh Yauh troupe. The length of the troupe establishment are from 7 years to 30 years or more and the troupes members consist of the youths, students as well as aged persons. The dancing and chanting procedure starts following the funeral chanting which is the characteristics of learning something through the back door. The analysis of musical elements of the dancing and chanting for paying respect to teachers lyrics found that three troupes are using the Myanmar tone and melody; one troupe is using Mon tone and melody; two troupes are using Thai tone and melody; one troupe is using Lao tone and melody and one troupes is-using the ancient dancing and chanting melody. The rate of rhythm is mainly in the dual levels and five troupes are using FA tone step; two troupes are using DO tone step; one troupe is using DO and FA tone steps alternately. For the music in the form of songs, four troupes are using the refrain melody alternated with staging melody; three troupes are using responsive melody alternated with singing melody and one troupe is using the form of singing melody alternated with responsive melody. In addition, the analysis of the dancing and chanting for signing melody, the prosody appeared as the composition is the blend of the poetry of the Thai traditional dramatic performance (Likay) and the verse together. The value of the cultural music is very similar, that is to pay respect to kindness of articles. The value of the linguistic music is to use the homonym between the paragraphs and inter-paragraphs, letters in between the paragraphs and inter-paragraphs with sweet sounding. Some troupes are using the accent native language which is conformed to and having the meaning or language showing the humbleness and modesty.

Keyword: Wai Khru, dance prayer, Chanthaburi

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-26