สัญลักษณ์ไทยพวน : การศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยเพื่อแนวทางในการออกแบบ
คำสำคัญ:
ไทยพวน, สัญลักษณ์, อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, อัตลักษณ์องค์กรบทคัดย่อ
สัญลักษณ์ไทยพวน : การศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยเพื่อแนวทางในการออกแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural identity) และวิเคราะห์การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Elements of Visual Arts) จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural identity) ของกลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างสัญลักษณ์(Symbols) ขององค์กรที่ดำเนินงานโดยกลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนจำนวน 19 ชิ้น และวิเคราะห์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น 8 ประการได้แก่ 1)อาหาร 2)การแต่งกาย 3)ที่อยู่อาศัย 4)ประเพณี 5)ภาษา วรรณกรรมพื้นบ้าน และประวัติศาสตร์บอกเล่า 6)อาชีพ 7)ความเชื่อและพิธีกรรม 8)ศิลปะพื้นถิ่น ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนในรูปแบบสัญลักษณ์ มีการใช้องค์ประกอบทางศิลปะได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ลวดลาย นิยมใช้เรื่องราวจากภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทการแต่งกาย และอาชีพมาออกแบบสัญลักษณ์มากที่สุด
ในขณะที่มีการใช้รูปลักษณะธรรมชาติ (Organic Form) โดยนำเอาสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม มาลดทอนส่วนประกอบต่างๆด้วยการใช้องค์ประกอบทางศิลปะประเภท รูปร่าง รูปทรง เพื่อระบุถึงวัตถุหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้น โดยมีรูปร่างของมนุษย์ เพศหญิงและเพศชายปรากฏในสัญลักษณ์มากที่สุด โครงสร้างรอบนอกของสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้องค์ประกอบที่เกิดขึ้นในสัญลักษณ์รวมกันเป็นจุดเนื้อหา สร้างการจดจำจากการใช้สี ที่เป็นตัวแทนของสิ่งนั้น สามารถเชื่อมความทรงจำจากประสบการณ์ของมนุษย์ การใช้สีในหนึ่งสัญลักษณ์มีจำนวนตั้งแต่ 1-6 สี¬ และมีการนำสัญลักษณ์(Symbols) มาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์องค์กร(Corporate Identity) ดังนี้ 1)ชื่อ(Name) ปรากฏลักษณะของชื่อ ที่ประกอบด้วยข้อความซึ่งสามารถบ่งบอกถึงกลุ่มวัฒนธรรมไทยพวน จากองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ (1.1) ชื่อขององค์กร ที่มีการระบุคำ “ไทยพวน” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อ (1.2)ถิ่นฐาน สถานที่ตั้ง การระบุสถานที่ตั้งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ (1.3) กิจกรรมขององค์กร การระบุกิจกรรมขององค์กรเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ (1.4)ภาษาถิ่น การใช้ภาษาถิ่นเป็นชื่อ (1.5)ประเพณี การใช้ชื่อของประเพณี ระบุเป็นชื่อ 2)เครื่องหมาย (Marks) ปรากฏลักษณะเครื่องหมายที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของรูปร่างรูปทรงและตัวอักษร ได้แก่(2.1) การใช้ตัวอักษรประกอบเป็นคำ หรือ ตัวย่อ (2.2) การผสมผสานระหว่างรูปร่างรูปทรงและตัวอักษร แบ่งออกเป็น การใช้รูปร่างรูปทรง โดยการจำลองรูปธรรมที่ปรากฏให้เห็นในท้องถิ่น ลดทอนองค์ประกอบเพื่อเป็นตัวแทนในการสื่อสารเรื่องราวด้วย รูปร่าง รูปทรงของสิ่งนั้น ได้แก่ รูปร่างรูปทรงของมนุษย์ที่บ่งบอกถึงเพศ รูปร่างของเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงอาชีพในท้องถิ่น รูปร่างที่มาจากศิลปะในท้องถิ่น รูปร่างที่บ่งบอกถึงวัตถุดิบ อาหารในท้องถิ่น รูปร่างที่มาจากสถานที่ในท้องถิ่น และรูปร่างที่บ่งบอกถึงกิจกรรมในท้องถิ่น ประกอบกับตัวอักษรที่ระบุชื่อขององค์กร 3)ตัวอักษร (Typography) ปรากฏรูปแบบของตัวอักษรภาษาไทย ได้แก่(3.1) ตัวอักษรที่ถูกออกแบบรูปร่างให้คล้ายคลึงกับตัวอักษรธรรมในภาษาพวน (3.2) ตัวอักษรที่ถูกออกแบบรูปร่างโดยใช้ต้นแบบมาจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่ตั้ง (3.3) ตัวอักษรที่ถูกออกแบบรูปร่างโดยใช้ต้นแบบมาจากกิจกรรม (3.4) ตัวอักษรแบบมีหัวและไม่มีหัวในรูปแบบทั่วไป 4) สีอัตลักษณ์ (Color Signature) ปรากฏการใช้สีในสัญลักษณ์ตั้งแต่ หนึ่งสีขึ้นไป และมีรูปแบบของสีอัตลักษณ์ ได้แก่
(4.1)สีอัตลักษณ์จากสีต้นแบบของวัตถุ สภาพแวดล้อม หรือกิจกรรมประเพณี(4.2) สีอัตลักษณ์จากสีที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ให้เป็นสีสัญลักษณ์ขององค์กร 5)ข้อความประกอบ (Tag Line) ปรากฏการใช้ข้อความประกอบเพื่อแสดงถิ่นฐานขององค์กร 6)รูปแบบเพื่อสร้างอัตลักษณ์ (Signatured Pattern) มีการปรับใช้เพื่อการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสร้างอัตลักษณ์ร่วมได้ เป็นเพียงการใช้สัญลักษณ์นั้นซ้ำลงไปในบรรจุภัณฑ์ ป้ายประชาสัมพันธ์เท่านั้น
Downloads
References
วันที่ 27 พฤษภาคม 2561 (ออนไลน์)
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2562). วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน2561,
จากhttps://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/1450
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2556). ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
คู่มือการดำเนินงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศของกระทรวงวัฒนธรรม โครงการรากวัฒนธรรม 2556. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม
2560, จาก https://www.m- culture.go.th/ trang/images/hand _Rakwattanatham.pdf
ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). เครื่องนุ่งห่มของสตรีชาวพวนหาดเสี้ยว สุโขทัย. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน
2563, จากhttps://www.openbase.in.th/node/5453
ชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทย. (2561). ร้อยใจไทยพวน. มปท.
ทองเจือ เขียดทอง. (2542). การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพ : สุขภาพใจ
ประดิษฐ ศิลาบุตร. (2558). พวน หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสำลี โตสุรัตน์. มปท.
เชลียงพล เดือนเพ็ญ. (ออนไลน์). ผ้าทอไทพวน. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562,
จากhttps://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/traditional-craftsmanship/241-craft/445--m-s)
รัฏดา พัดเย็นชื่น. (2545). ประเพณีไทยพวน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2545). ประวัติศาสตร์ศิลป์และการออกแบบ. กรุงเทพ : สันติศิริการพิมพ์
วิเชียร วงศ์วิเศษ. (2517). ไทยพวน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
วิจัยไทยพวนศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย : กรณีศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2561,
จากhttps://research.psru.ac.th/~rdi/files/res_che2553/resche_files/205_Chapter3.pdf
วิลภา กาศวิเศษ. การพัฒนาลวดลายเพื่องานออกแบบจากอิทธิพลศิลปกรรมบ้านเชียง. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562,
จากhttp https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/6979
วิกิพีเดีย. หอนางอุสา. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/หอนางอุสา
สุจิตรา เข็มมุกด์. (มปป). กับข้าวชาวพวน. มปท.
สุรพล ดำริห์กุล. บ้านเชียงมรดกโลกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2540
สมคิด จูมทอง. ประธานศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย. สัมภาษวันที่ 27 พฤษภาคม 2561.
อรศิริ ปาณินท์ และนพดล จันทวีระ. (2554). บ้าน และเรือนพวนเชียงขวาง การกลับมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่เดิม. กรุงเทพฯ :
อุษาคเนย์.
อาวิน อินทรังษี. (2559). การออกแบบนิเทศศิลป์กับการสร้างแบรนด์. กรุงเทพฯ : บริษัทโอเอสพริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด
ไพบูลย์ วิริยะพัฒนไพบูลย์. (2553). ประวัติศาสตร์พวนมาจากไหน. นนทบุรี : เลิศชัยการพิมพ์ 2
โพธิ์ แซมลําเจียก. (2538). วัฒนธรรมและประเพณีไทยพวน. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร.
โพธิ์ แซมลําเจียก. (2537). ตำนานไทยพวน. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ