การจัดการความรู้เรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอบ้านนายาว ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ก้องเกียรติ มหาอินทร์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • วาสนา ช้างม่วง คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นฤพน ไพศาลตันติวงศ์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นิตยา วันโสภา คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • เกษม มานะรุ่งวิทย์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ขวัญฤทัย วงศ์กําแหงหาญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • จิรพร มหาอินทร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ออกแบบผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้เรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านนายาว ในโครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หมู่ 15 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เป็นการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ตามแนวพระราชดำริ ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2560 เป็นวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัยกับชุมชน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การจัดเวทีสนทนา และสังเกตการณ์ มีกลุ่มประชากรคือ กลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านนายาว และกลุ่มนักเรียน ชั้นมัธยมชั้นปีที่ 1 – 6 ในโรงเรียนเขตพื้นที่ ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ผลการวิจัยพบว่า การถ่ายทอดความรู้ในชุมชนบ้านนายาว ใช้องค์ประกอบในการจัดการความรู้ ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ โดยมีขั้นตอนคือ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ เพื่อนำไปทำกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้แบบมีส่วนร่วม โดยใช้กิจกรรมสำรวจชุมชนด้วยการถ่ายภาพ สู่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สะท้อนเรื่องราวของชุมชน ส่งผลต่อการได้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เกิดโมเดลการสร้างนักออกแบบบ้านนายาว ที่ส่งผลต่อการสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ให้กับกลุ่มสตรีตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านนายาวเพื่อผลิตตัดเย็บขึ้นรูป เป็นการมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าชุมชนระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า

References

คาน ประจง. สัมภาษณ์. วันที่ 10 เมษายน 2560

นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระยอง พวงไทสง. สัมภาษณ์. วันที่ 20 ธันวาคม 2559

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิสิทธิ์พัฒนา.

สุพัตรา สุภาพ. (2546). ปัญหาสังคม. กรุงเทพฯ. ไทยวัฒนพานิช.

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน. (2559). คู่มือการจัดการความรู้ของชุมชน. กรุงเทพฯ. กรมการพัฒนาชุมชน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการระบบราชการ. (2552). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา

เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม และอุ่นเรือน เล็กน้อย. (2550, กรกฎาคม-กันยายน). การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมงานวิจัยสู่การนำไปใช้ในพื้นที่. ใน วารสารสิ่งแวดล้อม. 21(3): 22.

อรอุมา มูลวัตร. (2551). รายงานวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้ชุมชนของกลุ่มแม่บ้าน : กรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองระดับ 4 ดาว. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. ถ่ายเอกสาร.

เอกชัย พุมดวง. (2558). กลยุทธการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. ในเอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสังคมศาสตร์. หน้า 993 – 1000. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28