ยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมการแสดงเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ จีนพงษ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, วัฒนธรรมการแสดง, กลุ่มชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการรักษาอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว  และ 2) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมการแสดงเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้อำนวยการวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว วัฒนธรรมจังหวัด ผู้นำชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าชมรมการแสดง ศิลปินท้องถิ่น และ ประชาชนทั่วไป จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified การวิเคราะห์เนื้อหา    ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการรักษาอัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดสระแก้วในภาพรวม อยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางเรียงตามลำดับดังนี้  2) ส่งเสริมองค์กรและชุมชนแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่น และประเทศเพื่อนบ้าน 3) อนุรักษ์ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในพื้นที่ สนองงานวันสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ ให้มีการสืบทอดให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน 4)ส่งเสริมพัฒนาความร่วมมือ ความสัมพันธ์กับหน่วยงานทุกภาคส่วน และประเทศเพื่อนบ้านด้วยมิติทางวัฒนธรรม 5) นำทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่มาเพิ่มคุณค่า และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม 6) พัฒนาการบริหารจัดการองค์ความรู้ให้ครอบคลุมทุกระดับชั้นเพื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่องค์ความรู้งานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม 

         จากการศึกษาลำดับความต้องการจำเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารด้านวัฒนธรรมการแสดงเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้วแบ่งผลการวิจัยออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้

  1. ความต้องการจำเป็น(PNImodified) ของการบริหารด้านวัฒนธรรมการแสดงเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว โดยรวมพบว่าการบริหารด้านวัฒนธรรมการแสดงเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ใน จังหวัดสระแก้ว  พบว่า มีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านพัฒนาการบริหารจัดการองค์ความรู้ให้ครอบคลุมทุกระดับชั้น เพื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่องค์ความรู้งานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม มากที่สุด(PNImodified = 0.22)   รองลงมาด้านนำทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่มาเพิ่มคุณค่า และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม (PNImodified = 0.21)  ส่งเสริมองค์กรและชุมชนแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่น และประเทศเพื่อนบ้าน (PNImodified = 0.20 ) ด้านอนุรักษ์ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในพื้นที่ และสนองงานวันสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มีการสืบทอดให้มีการพัฒนาที่ส่งเสริม ยั่งยืน (PNImodified = 0.18)  และสุดท้ายคือ    ด้านพัฒนาความร่วมมือ และความสัมพันธ์กับหน่วยงานทุกภาคส่วนและประเทศเพื่อนบ้านด้วยมิติทางวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่(PNImodified = 0.17)

            สภาพแวดล้อมภายนอกในการบริหารด้านวัฒนธรรมการแสดงเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้ว  พบว่า มีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับ ดังนี้ สภาพทางเทคโนโลยี(PNImodified = 0.16)  สภาพทางการเมือง(PNImodified = 0.15))    สภาพทางเศรษฐกิจ(PNImodified = 0.14)  และ สภาพทางสังคม(PNImodified = 0.13)

      2.ยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมการแสดงเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้วที่มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 9 กลยุทธ์ และ 17 โครงการ   โดยมี 4 ยุทธศาสตร์หลักดังนี้  1) ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นการเรียนรู้และส่งเสริมการอนุรักษ์ อัตลักษณ์วัฒนธรรมการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสระแก้วอย่างยั่งยืนให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและอาเซียน  2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ อัตลักษณ์การแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งในจังหวัดในประเทศและต่างประเทศ 3)  ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพความร่วมมือเพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านอัตลักษณ์ความรู้ทางวัฒนธรรมการแสดง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความแตกต่างทางวัฒนธรรมอันดี เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  4) การพัฒนาและสนับสนุนการยกระดับการสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรมการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมเพื่อการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของจังหวัดสระแก้วอย่างยั่งยืน          

References

กระทรวงวัฒนธรรม.(2544). โครงสร้างส่วนราชการกระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ กระทรวงวัฒนธรรม. ม.ป.พ. อัดสำเนา.
จันทิรา ธนสงวนวงศ์.(2556). ชีวิตและวัฒนธรรมไทย. เข้าถึงได้จาก:
https://elearning.etech.ac.th/learninghtml/s1301/unit07.html
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม :กรณีศึกษาชุมชน
ลาดพร้าว.วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2(28)
มกราคม - มิถุนายน 2556 หน้า 35.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2540). วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นเรนทร์ แก้วใหญ่. (2559).ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน : การพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 มิถุนายน – ธันวาคม 2559 หน้า 108.
บุญส่ง บุญทศ. (2543). ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนในการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน :
ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดมุกดาหาร. ภาคนิพนธ์ กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว และคณะ. (2560). การศึกษาเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
ฉบับภาษาไทย ปีที่ 37(1) : หน้า 223-244.
พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร. (2537). ภาพพจน์กับการประชาสัมพันธ์ในภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิชิต นันทสุวรรณและคณะ. (2545). บทบาทของชุมชนกับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สนั่น หวานแท้. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและการสืบค้น สำหรับการบริหารงานบุคคล คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาสาขา
เทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริรัตน์ แอดสกุล และคณะ.(2542).การธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมอญ : กรณีศึกษาชุมชนมอญบ้านม่วง ตำบลบ้านม่วง
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี.รายงานผลการวิเงินอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อัญธิชา มั่นคง. (2560) บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา.ปี 12 ฉบับที่ 39 มกราคม - มีนาคม 2560, หน้า 90.
Ellsworth, Richard R. (2002). Leading with Purpose. California: Stanford University Press. Fleisher, Craig S.,
& Bensoussan ,p143.
Jegede, O.J. (1995). Collateral learning and the eco-cultural paradigm in science and mathematics education in Africa.
Studies in Science Education, 25(1), 97- 137.
Williamson, A. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. Inter-Parliamentary Union,p 9 -10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28