การท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านอัตลักษณ์อาหารทั้ง 4 ภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, ความแท้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ และสรุปถึงทฤษฎีที่สำคัญที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และนำเสนอรายการอาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย อาหารไทยแบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์เป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่ อาหารภาคเหนือ อาหารภาคกลาง อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอาหารภาคใต้

ขั้นตอนและวิธีการวิจัย เก็บข้อมูลจากตำรา หนังสือ และบทความต่างๆ เพื่อสร้างแบบสอบถาม และได้สัมภาษณ์คนท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร

สรุปผลการวิจัย อาหารเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งการสร้างอัตลักษณ์ได้ 3 ประเภท 1. อัตลักษณ์ที่มีความสำคัญ 2. อัตลักษณ์ทางเลือก และ 3. อัตลักษณ์ในจินตนาการ

ความแท้กับการท่องเที่ยวสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. ความแท้เชิงวัตถุ 2. ความแท้ที่สร้างสรรค์ขึ้น และ 3. ความแท้ตามความดำรงอยู่ อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ ได้แก่ แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย น้ำพริกหนุ่ม อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคกลาง ได้แก่ แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง ห่อหมกปลา แกงเผ็ด พะแนง แกงส้ม อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ไส้กรอกอีสาน ส้มตำ ลาบ น้ำพริกปลาร้า ปลาร้าบอง อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของของภาคใต้ ได้แก่ แกงไตปลา ข้าวยำ แกงเหลือง คั่วกลิ้ง ปลาทอดขมิ้น บูดูทรงเครื่อง ไก่กอและ ผัดสะตอ อาหารคือสิ่งสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้เดินทางท่องเที่ยวและเป็นที่จดจำในการแสดงถึงอัตลักษณ์และความแท้

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). อัตลักษณ์อาหารไทย ๔ ภาค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จำกัด.
ม.ล. ขวัญทิพย์ เทวกุล. เจ้าของบริษัท เดวากูร์เมต์ แอนด์ คอนซัลติง จำกัด. สัมภาษณ์วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561.
งานองค์ความรู้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั้งยืน (องค์การ มหาชน).
(2559). ใส่ใจไปเที่ยวกับ อพท. การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.
จารุวรรณ นพพรรค์. (2525). ทฤษฎีอาหาร 1 อาหารประจำ 4 ภาค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
ร.ศ. ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2559). สัตถะเสวนา ศาสนากับอาหาร. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม, 2560, จาก
https://www.youtube.com/watch?v=sPYe7TcI0Ag
ปฬาณี ฐิติวัฒนา. (2542). ผักพื้นบ้านและอาหารพื้นบ้าน. ใน รวมบทความการประชุมวิชาการผักพื้นบ้านและ อาหารพื้นบ้าน 4ภาค.
หน้า 48-59. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์
พรหมเมธ นาถมทอง. (2558). วิถีไทยในกระแส. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ไตรมาสที่ 1
(มกราคม – มีนาคม). กรุงเทพฯ
มณีรัตน์ สุขเกษม (2560, กรกฏาคม-ธันวาคม). การดำรงอัตลักษณ์ชาวไทยพวนของบ้านดงโฮมสเตย์ผ่านบริบทการท่องเที่ยวเชิง
สร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. 19(1): 94.
วันดี ณ สงขลา. (2541). อาหารไทยสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาร
โศรยา หอมชื่น. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ท่องเที่ยวสร้างสรรค์. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ไตรมาสที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน). กรุงเทพฯ
ศรีสมร คงพันธุ์. (2557). ครบภาคครบรสอาหารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส.ส.ส.ส.
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2544). อาหาร: ทรัพย์และศิลป์แผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: แปลนโมทีฟ
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจของ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ
เสมอพร สังวาสี. (2549). อาหารไทยสี่ภาค. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
อบเชย อิ่มสบาย. (2553). อาหารไทย 4 ภาค. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: แสงแดด
อำไพ โสรัจจะพันธุ์. (2537). เอกสารคำสอน อาหารท้องถิ่น. สงขลา: ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยครูสงขลา
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัย
แห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Anne-Mette Hjalager and Greg Richards. (2002). A typology of gastronomy tourism. In, Tourism and
Gastronomy. London: Routledge.
Donald Getz, Richard N.S. Robinson, Tommy D. Anderson and Sanja Vujicic. (2014). Foodies and Food Tourism.
Oxford: Goodfellow Publishers Ltd.
Malanie Kay Smith, Nicola Macleod & Margaret Hart Robertson. (2010). Identity. In, Key Concepts in Tourist Studies.
London: SAGE Publications Ltd.
Malanie Kay Smith, Nicola Macleod & Margaret Hart Robertson. (2010). Authenticity. In, Key Concepts in Tourist
Studies. London: SAGE Publications Ltd.
Manuel Castells. (2004). The Power of Identity. 2nd Edition. UK: Blackwell Publishing Ltd.
Rachelle H. Saltzman. (2015). Identity and Food. In, The SAGE Encyclopedia of Food Issues. Thousand Oaks: SAGE
Publications, Inc.
Tourism Authority of Thailand. (2012). Miracle of Thai Food. First Edition. Bangkok: Tourism Authority of Thailand
UNESCO. (2015). Creative Cities Network. Search on 27 May, 2017, from https://en.unesco.org/creative-cities/
WORLD FOOD TRAVEL ASSOCIATION. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.worldfoodtravel.org/cpages/what-is- food-
tourism [16 กันยายน 2560]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28