เรื่องเล่าประวัติชีวิต : การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ทุหมัด สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เรื่องเล่าประวัติชีวิต, การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม, ชาติพันธุ์ไทยพวน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตชีวประวัติและจุดพลิกผันสู่การเป็นนักจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชน 2) ศึกษาแนวคิดและวิธีการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมของผู้นำชุมชน 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาการศึกษาอัตชีวประวัติและเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้นำชุมชนไทยพวน ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวน        1 คน ผู้ให้ข้อมูลรองเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลหลัก และการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชน จำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาเอกสาร

     ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักอายุ 58 ปี เป็นผู้นำชุมชนไทยพวนด้านการจัดการวัฒนธรรมชุมชนและเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาติพันธุ์ไทยพวนเป็นอย่างดี เกิดในครอบครัวที่ฐานะไม่ดีเรียนจบประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 จึงตัดสินใจเข้าทำงานในกรุงเทพตั้งแต่อายุ 12 ปี ทำงานในโรงงานผลิตเบาะรถยนตร์ และพัฒนาตนเองจนมาเป็นเจ้าของโรงงานผลิตหนังหุ้มเบาะรถยนตร์แห่งหนึ่ง จุดพลิกผันในชีวิตที่สำคัญในการหันมาสนใจเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ การที่ถูกมองเป็นชนชั้นสองจากความเป็นชาติพันธุ์ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และความไม่เจริญจากมุมมองของคนในตัวเมือง เมื่อตนมีการงานและฐานะมั่นคงแล้ว จึงตัดสินใจกลับมาเป็นผู้นำชุมชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจนได้รับรางวัลมากมาย โดยผู้นำชุมชนมีกระบวนการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม ดังนี้  1) ประเมินทรัพยากรทางวัฒนธรรมอย่างมีเป้าหมาย 2) จัดลำดับความสำคัญในจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม   3) วางแผนการอนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างความตระหนักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมชาติพันธุ์ให้กับคนในและคนนอกชุมชน และด้านการนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ 4) นำแผนมาปฏิบัติและประเมินผลเป็นระยะ ปัญหาหลักในการดำเนินงาน ได้แก่ เงินทุน และชุมชนมีส่วนร่วมน้อย ทำให้การพัฒนาล่าช้าและขาดความไม่ยั่งยืนในการดำเนินงาน แนวทางแก้ไข คือ ควรจัดตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยบรรจุเป็นแผนพัฒนาของท้องถิ่นเพื่อจัดสรรงบประมาณการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการวัฒนธรรมท้องถิ่นมีประสิทธิภาพและมีความ   ต่อเนื่อง

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา วิเชียรประดิษฐ์ และคณะ.(2556).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ.ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาการประชุม
วิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2.หน้า 582-593.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงวัฒนธรรม.(2560).ยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนแม่บทกระทรวงวัฒนธรรม.สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2560,จาก http://www.m-culture.go.th/th/ewt_news.php?nid=1545&filename=index.
งามพิศ สัตย์สงวน.(2537). การวิจัยทางมานุษยวิทยา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต.(2559).ศิลป์และศาสตร์ของการวิจัยเชิงคุณภาพทางการสื่อสารองค์การ:จากขนบสู่นวัตกรรม.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัมนบริหารศาสตร์.
เจตนา นาควัชระ.(2546).แนวทางการสร้างทฤษฎีศิลปะจากแผ่นดินแม่ ในศิลป์ส่องทาง.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คมบาง.
_____________.(2555).จากศาสตร์มาสู่ศิลป์ : จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน ในทางสายกลางแห่งการวิจารณ์.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส์.
เฉลิมศักดิ์ เมฆสุข.(2552).การใช้เทคโนโลยีตัวตนในเพื่อความสำเร็จในการศึกษาของนักศึกษาเพศทางเลือก.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เดชชาติ นิลวิเศษ และมณีวรรณ ผิวนิ่ม.(2558).การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเป็นแหล่งเรียนรู้ในวัดบวรนิเวศวิหาร. Veridian E-Journal,SU.8(3):890-903.
ชินรัตน์ สมสืบ.(2539).การมีส่วนร่วมชองประชาชนในการพัฒนาชนบท.ในชุดวิชาการพัฒนาชนบท.หน้า 20.นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นภาภรณ์ หะวานนท์.(2552).วิธีการศึกษาเรื่องเล่า:จุดเปลี่ยนของการวิจัยทางสังคมศาสตร์.วารสารลุ่มน้ำโขง.5(2):1-22.
เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์.(2553).ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในคนทางสังคมศาสตร์.วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์.31(2):292-296.
ประสพชัย พสุนนท์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์.(2556).ประสิทธิภาพและกุญแจแห่งความสำเร็จในการดำเนินการสหกรณ์การเกษตร: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก.Veridian E-Journal,SU. 6(1):610-628.
ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง.(2545).การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยโป่งผาลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย.สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560,จาก http://doi.nrct.go.th
ภันมณี แก้วสง่า.(2555).การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย.วารสารเทคโนโนยีสุรนารี.6(1):91-109.
มาฆะ ขิตตะสังฆะ.(2553).การศึกษาการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮอ่งสอน.รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.ถ่ายเอกสาร.
พิริยะ ผลพิรุฬห์.(2556).เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย.วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์.7(1):3-11.
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล.(2554).การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:ต่อยอด เพิ่มคุณค่า หาจุดต่าง.สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2560,จาก http://www.etatjournal.com/upload/245/9_Creative_Tourism.pdf.
ระวิวรรณ วรรณวิไชย.(2559).การบริหารจัดการทางวัฒนธรรมกรณีศึกษางานศิลปะการแสดงพื้นบ้านจังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารกระแสวัฒนธรรม.17(31):21.
รินนา ทากุดเรือ(2557).การสร้างความทรงจําผ่านเรื่องเล่าและมรดกในพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2.เอกสารประมวลบทความประกอบการสัมนาเครืข่ายบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาลัมานุษยวทยา ครั้งที่ 14.หน้า 205-225.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย.
วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์.(2558).ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ:การศึกษาทฤษฎี ฐานราก.Veridian E-Journal,SU. 8(2):278,288.
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง สุจิณณาพานิชกุล และปัทมาจันทรวิโรจน์.(ม.ป.ป.).เส้นทางท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมเชิง ประวัติศาสตร์.หน้า 6-8.กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิโรจน์ พจนรัตน์.(2551).บทบรรยาย“การจัดการวัฒนธรรมกับความเจริญของประเทศ”.วารสารเทคโนโลยีสุรนารี.2(2):85-97.
วันดี สันติวุฒิเมธี.(2545).กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ชายแดนไทย-พม่า:กรณีศึกษาหมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแห จังหวัดเชียงใหม่.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.15(1):219-247.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.(2552).การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างอุตสาหกรรมและอาชีพ.สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560, จากhttp://research.mol.go.th/2013/rsdat/prg/eachview.php?okey=KKGMQI 1&prg=viewpop.php&Page=1.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.(2551).ความหมายวัฒนธรรม.สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2560,จาก http://www.openbase.in.th/node/5954.
เสถียร โกเศศ.(2515).วัฒนธรรมเบื้องต้น.พระนคร:สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถาน.สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560,http://www. komchadluek.net/news/edu-health/236200.
สุรชัย ทุหมัด และสันติธร ภูริภักดี(2560).ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกับประสิทธิผลด้านความยั่งยืน.ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3.หน้า OBM 448-461.กรุงเทพมหานคร:วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.
สุวิทย์ เมษินทรีย์.(2559).วัฒนธรรมทางออกเศรษฐกิจสร้างสรรค์.สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560,http://www. komchadluek.net/news/edu-health/236200.
Atkinson,Robert.(1998).Contexts and Use of Life Stories.The Life Story Interview,.USA:SAGE Publications Inc.
Conle, Carola. (2000).Narrative Inquiry: Research tool and medium for professional development. European Journal of Teacher Education,23(1):50-63.
Corbin J. and Strauss A.(1990).Grounded Theory Research: Procedures,Canons and Evaluative Criteria. Qualitative Sociology Journal.13(1):12-14.
Elliot, Jane. (2005).Using narrative in social research.London: Sage.
Riessman.C.K(1993).“Theoretical Contexts”Narrative Analysis.สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2560,http://tpir 53.Blogspot.com/2010/11/blog-post_15.html.
Yeasmin.S.and Rahman.K.F.(2012).Triangulation Research Method as the Tool of Social Science Research. BUP Journal.1(1):154-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28