แนวทางการออกแบบแฟชั่นเครื่องหนังส่งออกประเทศญี่ปุ่น : การสร้างสรรค์อัตลักษณ์หัตถกรรมไทยในรูปแบบอาวองท์-การ์ด หลังยุคสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • พรนารี ชัยดิเรก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ออกแบบ, แฟชั่น, เครื่องหนัง, หัตถกรรมไทย อาวองท์-การ์ด หลังยุคสมัยใหม่, ส่งออก ญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

     ปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นเครื่องหนังในตลาดโลกมีการแข่งขันด้านภาพลักษณ์สินค้าที่สูงมาก การส่งออกสินค้าประเภทนี้ไปประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ในระดับสากลให้มากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบสินค้าแฟชั่นที่สะท้อนถึงตัวตนของสินค้าเครื่องหนังไทยในรูปลักษณ์ใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการนำเสนอ2แนวคิดหลักที่สอดคล้องกับรสนิยมวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นได้แก่      ด้านอัตลักษณ์ไทยในงานหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ ผสานกับแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบตามแนวทางอาวองท์-การ์ดหลังยุคสมัยใหม่ ด้วยการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ วิเคราะห์ เชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามกับสตรีญี่ปุ่นอายุ20-45ปี  จากการศึกษาพบว่า ด้านอัตลักษณ์เครื่องจักสานไม้ไผ่       มีองค์ประกอบด้านการออกแบบที่สำคัญคือ รูปทรง โครงสร้าง สี ลวดลายและวัสดุ ด้านแนวคิดอาวองท์-การ์ดหลังยุคสมัยใหม่ มีแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานเน้นในด้านรูปแบบ เทคนิค วัสดุที่ใช้และการสื่อความหมาย และเพื่อให้ได้รูปแบบของสินค้าที่ตรงกับความต้องการมีความเหมาะสมมากที่สุด ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบEDFR ด้วยการตัดสินด้านภาพลักษณ์สินค้าอีกครั้งจากคณะผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยที่ได้นำไปสู่แนวทางการสร้างสรรค์สินค้าแฟชั่นประเภทเครื่องหนังเพื่อการส่งออกที่ได้ข้อสรุปในด้านองค์ประกอบเพื่อการออกแบบด้าน รูปทรง สีสัน รายละเอียด วัสดุที่ใช้ และพัฒนาเป็นคอลเลคชั่นสินค้าต้นแบบที่มีรูปแบบล้ำสมัย มีเอกลักษณ์จากทุนวัฒนธรรมเดิม        ต่อยอดและเพิ่มรายได้การส่งออกให้มากขึ้น

References

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2559, มกราคม-มิถุนายน).การสร้างสรรค์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากทฤษฎีการรื้อสร้าง (Deconstruction) : กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้าน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา.
วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 17(2): 83.
กิมเล้ง. (2556). เครื่องจักสาน : ความหมาย กำเนิด วิวัฒนาการ คุณค่าและพัฒนาการ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2558.จาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=71263.0
จิรโชค วีระสย. (2550). ว่าด้วย Post-modern. วารสารศาสนาและวัฒนธรรม. (1)2 น.23-45
ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์. (2557). การออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าไทยสำหรับการส่งออกประเทศญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2547). ประวัติศาสตร์นฤมิตศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2547). ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพฯ : อินฟอร์มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล
พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2553). อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ สำหรับคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). ทฤษฎีการค้า. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.จาก http://www.stou.ac.th/Study/Services/Sec/60340(2)/Trade.html
เรวัต สุขสิกาญจน์. (2554). ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในจังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (3)2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2554 น.70-92
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2553). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน : เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. (30)1 น.163-182
ศูนย์บริการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มงานบริการข้อมูลการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2556). เครื่องหนังไทย ลึกๆสุดแสนเจ็บปวด. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2558. จาก
http://www.ditp.go.th/contents_attach/79350/79350.pdf
สุรีย์ เข็มทอง. (2555). โมดูลที่ 5 ธุรกิจสินค้าที่ระลึก. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2558.จากhttp://stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/management/content/modules/market%20module5.pdf
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). คลังความรู้. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558. จาก http://www.royin.go.th/?knowledges-category=i-love-thai-languages&paged=16
สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
อัญชลิตา สุวรรณะชฎ. (2554). ยุคสมัยใหม่กับสุญนิยม : เสรีภาพและเอกลักษณ์ของปัจเจกชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558. จาก http://chali-kitkeen.blogspot.com/2011/02/blog-post.html
อานันท์ กาญจนาคพันธุ์. (2552). พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม. รัฐและชาติพันธุ์. เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดเชียงใหม่
English, B. (2011). Japanese Fashion Designers. UK : Bloomsbury Publishing Plc.
Gaboriault, H. (2013). Future Beauty : Avant-Garde Japanese Fashion at PEM. Retrieved October 20, 2016, from http://madammeow-hollygaboriault.blogspot.com/2013/12/future-beauty-avant-garde-
japanese.html
Wongtanasuporn, P. (2010). A design strategy for village-based manufactures. Victoria : Swinburne University.
Todd, D. (2012). You Are What You Buy : Postmodern Consumerism and the Construction of Self. HOHONU 2012. 10:48-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28