การศึกษาอิทธิพลของยุคสมัยที่มีผลต่อการออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน

ผู้แต่ง

  • ดนัย เรียบสกุล ภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การออกแบบ, แฟ้มสะสมผลงาน, หนังสืออิเล็คทรอนิคส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของยุคสมัยที่มีผลต่อการออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน  เพื่อออกแบบคู่มือการออกแบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็คทรอนิคส์ และเพื่อทดสอบความพึงพอใจของคู่มือการออกแบบแฟ้มสะสม        ผลงานอิเล็คทรอนิคส์ ผู้วิจัยเลือกศึกษาและสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและผู้ประกอบการด้านการออกแบบในสาขาต่างๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 50 ท่าน

              ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลยุคสมัยที่มีผลต่อการออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน  มี 3 ประการ ได้แก่ (1) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ประกอบด้วย 1.1 ฮาร์ดแวร์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท๊บเล็ต เป็นต้น 1.2 ซอฟแวร์ เช่น โปรแกรมอิลาสเตเตอร์ โปรมแกรมโฟโต้ชอป โปรแกรมทรีดี แม๊กซ์ เป็นต้น 1.3 อินเตอร์เน็ต เช่น ไวไฟ ทรีจี โฟว์จี เป็นต้น 1.4  สังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุค สไกด์ ไลน์ อินสตาแกรม    เป็นต้น 1.5 การบริการจัดเก็บและถ่ายทอดข้อมูล เช่น อีเมล กูเกิล ไดรฟ์ ดรอปบ๊อกซ์   เป็นต้น (2) สภาพสังคม ประกอบด้วย  2.1 การแข่งขันทางธุรกิจ 2.2 การดำเนินชีวิต 2.3 ความนิยมของสังคม (3) ทิศทางการออกแบบ ประกอบด้วย 3.1 ความต้องการของลูกค้า 3.2 แรงบันดาลใจ

              สำหรับคู่มือการออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน ผู้วิจัยออกแบบเป็นหนังสืออิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งเป็นผลของการสัมภาษณ์และข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ  เนื่องจากเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค มีความสะดวกในการใช้งาน  ลดต้นทุนการผลิต และเหมาะสมกับยุคสมัย    โดยนำเสนอผ่านรูปแบบอินโฟกราฟิก ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลผ่านภาพประกอบกราฟิกสองมิติ ที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย จำนวน 108 หน้า แบ่งออกเป็น 5 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 ที่มาและความหมายของแฟ้มสะสมผลงาน บทที่ 2 ความสำคัญและรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงาน บทที่ 3 องค์ประกอบของแฟ้มสะสมผลงาน บทที่ 4 การออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน และบทที่ 5 อิทธิพลยุคสมัยที่มีผลต่อการออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน

            ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อคู่มือการออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน ที่ใช้แบบประเมินทักษะคุณค่าด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านเทคนิคและการใช้สื่อ เป็นเครื่องมือในการประเมิน พบว่าโดยภาพรวมที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 75 คน มีระดับความคิดเห็น ระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.67)  ในรายการประเมินทุกด้าน เมื่อแยกตามรายการประเมินด้านเนื้อหาพบว่า การเรียงบทที่ชัดเจนมีค่าเฉลี่ยระดับการประเมินสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.68)  เนื้อหาส่งเสริมการออกแบบแฟ้มสะสมงาน (ค่าเฉลี่ย 4.63) และเนื้อหามีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และยุคสมัย การสะกดคำ รูปประโยค และเรียบเรียงที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเน้นข้อความที่เกิดประโยชน์ต่อเนื้อหาสาระ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน(ค่าเฉลี่ย 4.61)  สำหรับรายการประเมินด้านการออกแบบพบว่า การออกแบบมีความเหมาะสมกับยุคสมัยมีค่าเฉลี่ยระดับการประเมินสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.79) ภาพประกอบมีเอกลักษณ์และสอดคล้องกับเนื้อหา    (ค่าเฉลี่ย 4.67) รูปแบบ ขนาดรูปเล่ม แบบอักษร มีความเหมาะสม สวยงาม (ค่าเฉลี่ย 4.60) และสำหรับด้านเทคนิคและการใช้สื่อ บูรณาการใช้สื่อเหมาะสมกับยุคสมัยมีค่าเฉลี่ยระดับการประเมินสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.79) ไฟล์งานมีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งาน (ค่าเฉลี่ย 4.73) ความเป็นไปได้ในการผลิตจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย 4.68) 

References

กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว. 2556. “ผลกระทบของโซเซียลมีเดียต่อสังคมไทย.” [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://biologystem.blogspot.co.nz (12 ธันวาคม 2560).
ชโรธรณ์ ทิพย์อุปถัมภ์. อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 29 ธันวาคม 2559. สัมภาษณ์.
ชญานิช ชิงชวง. (2557). การพัฒนาหนังสืออิเล็คทรอนิคส์ เรื่องการออกแบบภาพประกอบ, มหาวิทยาลัยนเรศวร
โชติกานต์ เที่ยงธรรม. สมัครและสัมภาษณ์งานให้ได้งานเร็ว, กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์, 2554.
ประยงศรี พัฒนกิจจำรูฐ. 2552. หน่วยที่ 3 แหล่งทรัพยากรสารสนเทศภาคเอกชน, (พิมพ์ครั้งที่ 8). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ. นนทบุรี. สาขาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. 2554. “กลยุทธ์การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมืออาชีพ.” [ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูล จาก https://api.ning.com (5 ธันวาคม 2557)
ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT), แบบสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สุดศิริ ปุยอ๊อก. ประติมากร. 28 มิถุนายน 2559. สัมภาษณ์.
เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. 2545. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อติวรรธน์ วิฬุรห์เพชร. อาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 15 พฤศจิกายน 2559 สัมภาษณ์.
อยุธการ จันทรโชติ. นักออกแบบเครื่องแต่งกาย. 22 มิถุนายน 2559. สัมภาษณ์.
อนุพันธ์ สิทธิโชคชัย. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. 25 มิถุนายน 2559. สัมภาษณ์.
อังกาบ บุญสูง. อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 15 พฤศจิกายน 2559. สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28