แนวคิดในการประพันธ์เพลงไทยของครูสำราญ เกิดผล (ศิลปินแห่งชาติ)
คำสำคัญ:
แนวคิด,, การประพันธ์เพลงไทย,, ครูสำราญ เกิดผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการประพันธ์เพลงไทยของ ครูสำราญ เกิดผล (ศิลปินแห่งชาติ) ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ 1. ภูมิหลังด้านการศึกษาการประพันธ์เพลงไทย 2. ผลงานการประพันธ์เพลงไทย 3.หลักการประพันธ์เพลงไทย 4. ลักษณะและจุดประสงค์ในการประพันธ์เพลงไทย
ผลการวิจัยพบว่า ผลงานการประพันธ์เพลงไทยของครูสำราญ เกิดผล ประกอบไปด้วย 1. เพลงโหมโรงจำนวน 10 เพลง 2. เพลงเถาจำนวน 56 เพลง เพลงตับจำนวน 4 ตับ เพลงเรื่องจำนวน 5 เรื่อง และเพลงหน้าพาทย์จำนวน 11 เพลง ซึ่งท่านมีหลักที่ใช้ในการประพันธ์เพลง 2 หลักการ ได้แก่ 1) แบบมีโครงสร้าง และ 2) แบบอิสระ ลักษณะการประพันธ์เพลงไทยของครูสำราญ เกิดผล ประกอบไปด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การประพันธ์เพลงขึ้นใหม่ทั้งหมด 2) การประพันธ์เพลงโดยต่อยอดจากโครงสร้างเดิม 3) การประพันธ์เพลงโดยมีโครงสร้างมาจากเพลงไทยสากล และ 4) การประพันธ์แต่ทางร้อง จุดประสงค์ในการประพันธ์เพลงของครูประกอบด้วย 7 จุดประสงค์ ได้แก่ 1) การประพันธ์เพลงเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 2) การประพันธ์เพลงเพื่อใช้สำหรับองค์กร 3) การประพันธ์เพลงเพื่อเป็นการเผยแพร่บทเพลง 4) การประพันธ์เพลงเพื่อเป็นการอนุรักษ์บทเพลง 5) การประพันธ์เพลงเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน 6) การประพันธ์เพลงเพื่อนำมาใช้ประกอบพิธีไหว้ครู และ 7) การประพันธ์เพลงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนดนตรีไทย
Downloads
References
https://art.culture.go.th/art_Perf.php
กฤษฏิ์ โพชนุกูล. (2554). วิเคราะห์ผลงานการประพันธ์เพลงประเภทโหมโรงครูมนตรี ตราโมท.
วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาดุริยางค์ไทย). กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
จิรกานต์ สิริกวินกอบกุล. (2559, มกราคม - มิถุนายน 2559). การพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาดนตรีศึกษาสำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. ปีที่ 17 (ฉบับที่ 2): 34.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญยงค์ เกตุคง. (2539). ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ครูบุญยงค์ เกตุคง. กรุงเทพฯ : บริษัท พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.
มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ. (2525). ศรทอง : ประชุมผลงานเพลงของหลวงประดิษฐไพเราะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง).
พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักษณาวดี จตุรภัทร์. (2543). งานสร้างสรรค์เพลงระบำชุดโบราณคดี ของครูมนตรี ตราโมท. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา). กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
วราห์ เทพณรงค์. (2559). โน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ศิลปินแห่งชาติพุทธศักราช 2556. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
สำราญ เกิดผล, ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์วันที่ 19 สิงหาคม 2559.
สำราญ เกิดผล, ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559.
สำราญ เกิดผล, ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์วันที่ 9 ธันวาคม 2559.
เสาวภาคย์ อุดมวิชัยวัฒน์. (2559). การวิเคราะห์อัตลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทยของครูสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาดนตรีศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ