การออกแบบลวดลายมัดหมี่ไหม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นสินค้าแฟชั่น กรณีศึกษาลวดลายผ้าโฮลเปราะห์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • รัตนเรขา มีพร้อม สาขาวิชาสิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

มัดหมี่ไหม, ออกแบบ, ลวดลาย,, แฟชั่น,, อาร์ตเดโค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเอกลักษณ์ของลวดลายโฮลเปราะห์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อออกแบบลวดลายมัดหมี่ กรณีศึกษาลวดลายผ้าโฮลเปราะห์ สู่การพัฒนาเป็นสินค้าแฟชั่น เพื่อทดสอบแนวคิดการออกแบบลวดลายมัดหมี่ สู่การพัฒนาเป็นสินค้าแฟชั่น ผลการวิจัยพบว่า ลวดลายโฮลเปราะห์ จังหวัดสุรินทร์ มีแม่ลายรูปเรขาคณิตในลักษณะสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน การออกแบบลวดลายมัดหมี่ใช้รูปแบบของแฟชั่น(Style) ได้แก่รูปแบบล้ำสมัย(Avant-garde) รูปแบบทันสมัย(Trendy) รูปแบบตามแนวนิยม(In Fashion) รูปแบบไม่ยึดติดสมัยนิยม(Basic)

การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของช่างทอและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ พบว่า  อายุของช่างทอและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ มีอายุ 30-39 ปีขึ้นไป  สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ประสบการณ์ด้านการทอผ้ามัดหมี่และออกแบบลายผ้ามัดหมี่ 5-10 ปี อาชีพของช่างทอและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ส่วนใหญ่รับราชการ  การศึกษาความคิดเห็นของช่างทอและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ที่มีต่อการออกแบบลวดลายมัดหมี่ กรณีศึกษาลวดลายโฮลเปราะห์ สู่การพัฒนาเป็นสินค้าแฟชั่น โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการ วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นมาตรประเมิน 5 ระดับ ผลการศึกษาพบว่า แบบร่างลวดลายมัดหมี่ รูปแบบทันสมัย(Trendy) แบบที่ 3 เป็นที่พึงพอใจอันดับ 1 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19  รองลงมาคือ แบบร่างลวดลายมัดหมี่ รูปแบบล้ำสมัย(Avant-garde) แบบที่ 4 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 แบบร่างลวดลายมัดหมี่ รูปแบบตามแนวนิยม(In Fashion) แบบที่ 2  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และแบบร่างลวดลายมัดหมี่ รูปแบบไม่ยึดติดสมัยนิยม (Basic) แบบที่ 2  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94  ซึ่งพบว่าทุกแบบได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

จารวี ถิรการัณยภาส. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อผลิตภัณฑ์ผ้าไทย. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐสุภา เจริญยิ่งวัฒนา. (2555,กรกฎาคม-ธันวาคม). การค้นหาและถ่ายทอดแรงบันดาลใจในงานออกแบบ แฟชั่น. งานวิจัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 14(1): 27
ธวัชชัย แสงน้ำเพชร และ วันดี มาตสถิตย์. (2550). การออกแบบและพัฒนารูปแบบกระเป๋าจากผ้าไหมสุรินทร์. งานวิจัย. คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
เมธ์วดี พยัฆประโคน และคณะ. (2559,กรกฎาคม-ธันวาคม). ผ้าไหมทอมือพื้นบ้าน ในเขตจังหวัดสุรินทร์. ปริญญานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 18(1): 35.
วรพงศ์ วรชาติอุุดมพงศ์. (2551). ออกแบบลวดลาย Ornamental design. ตำราคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี : ศูนย์การพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแห่งธุรกิจ.
ศุภนิดา มณีโชติ (ม.ป.ป.) การศึกษาแนวคิดการบูรณาการลวดลายผ้าไหมแพรวาและเครื่องประดับอาร์ตเดโค เพื่อการออกแบบเครื่องประดับไทยร่วมสมัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกออกแบบเครื่องประดับ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริพิชญ์ วรรณภาส. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุพรรณ สมไทย และคณะ. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน โดยแนวคิดจากวัฒนธรรมชาวไทยทรงดำ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต:กรุงเทพฯ.
อรรภสิทธิ์ จันทร์นิเวศ. (2557). การศึกษาพัฒนารูปแบบผ้าทอดอกจอกแบบดั้งเดิม เพื่อนำไปสู่การพัฒนา สินค้าแฟชั่น กรณีศึกษาโครงการผ้าทอในพระบรมราชินูปภัมภ์ วัดน้ำเต้า อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
ปริญญานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุบลศรี อุบลสวัสดิ์ และ เพชร สายแสน. (2551). การผลิตสื่อวีซีดีเรื่องการออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ สิ่งทอจากผ้าไหม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28