THE DANCE FROM VIEWPOINT OF DEATH IN TIBETAN VAJRAYANA BUDDHISM

Authors

  • Dharakorn Chandnasaro Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University

Keywords:

นาฏศิลป์หลังยุคนวนิยม, นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ศิลปะการแสดง, ศาสนาพุทธแบบวัชรยานของทิเบต

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาทรรศนะเรื่องความตายในศาสนาพุทธแบบวัชรยานของทิเบต และ 2) เพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบนาฏศิลป์จากทรรศนะเรื่องความตายในศาสนาพุทธแบบวัชรยานของทิเบต เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่อาศัยกรอบแนวคิดจากความตายตามความเชื่อหรือปรัชญาของศาสนาพุทธแบบมหายาน นาฏศิลป์สร้างสรรค์ สัญญาณวิทยา นาฏศิลป์หลังยุคนวนิยม การออกแบบงานนาฏศิลป์ และสุนทรียศาสตร์ มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เอกสาร แล้วจึงนำผลการวิเคราะห์มาสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ และสุดท้ายคือการนำเสนอผลงานสู่สาธารณชน
           ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบนาฏศิลป์จำแนกได้ 8 ประการ ดังนี้ 1) แนวคิดการแสดง ได้แรงบันดาลใจจากความเชื่อเรื่องความตายของศาสนาพุทธแบบวัชรยานของทิเบต กำหนดว่าขั้นตอนแห่งการตายของมนุษย์ (การแตกดับของมนุษย์) มี 8 ขั้นตอน โดยมีลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพียง 1 ช่วง 2) นักแสดง ได้แนวคิดนาฏศิลป์หลังยุคนวนิยมเป็นกรอบในการคัดเลือกนักแสดง เป็นนักแสดงที่มีทักษะนาฏศิลป์หรือกิจกรรมใกล้เคียง และแตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือ ทักษะนาฏศิลป์ร่วมสมัย ทักษะกีฬาลีลาศ และทักษะนาฏศิลป์แบบฮิพฮอพ ใช้นักแสดงสุภาพสตรีทั้งหมด 3 คน 3) การเคลื่อนไหว ใช้การเคลื่อนไหวแบบมีไหวพริบ (Movement improvisation) เป็นพื้นฐาน ร่วมกับการใช้ทักษะนาฏศิลป์ร่วมสมัย คือเรื่องของการทรงตัว การถ่ายเทน้ำหนัก การกำหนดลมหายใจ ความยืดหยุ่นของร่างกาย และการใช้พื้นที่ว่าง ใช้ทักษะกีฬาลีลาศ คือการใช้ทิศทางที่เป็นลักษณะวงกลม (Ballroom space) การยืดและการย่อ และใช้ทักษะนาฏศิลป์แบบฮิพฮอพ คือการเคลื่อนไหวร่างกายแบบแยกสัดส่วน (Isolation) 4) อุปกรณ์การแสดง ออกแบบอุปกรณ์การแสดงเพียง 1 ชิ้น คือ ผ้าโปร่งตาข่ายสีขาว ใช้เป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบแบ่งแยกระหว่างการมีลมหายใจและการแตกดับ แสดงถึงกระบวนการ อุปสรรค และขั้นตอนต่าง ๆ ของการแตกดับและการไม่ยอมหลุดพ้นจากห้วงแห่งความตายของผู้อยู่เบื้องหลัง และการใช้สีขาวเปรียบแทนกับความสงบนิ่ง อันมาจากสีของกระดูกมนุษย์ 5) เสียงและดนตรี ใช้เครื่องดนตรีประเภทเป่า คือแตรทิเบต เนื่องด้วยถูกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวทิเบตแทบทุกโอกาส การใช้ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมตะวันออก สื่อผ่านแตรทิเบต และวัฒนธรรมตะวันตก สื่อผ่านเปียโน นำมาผสมผสานกัน จนเกิดเป็นเสียงและดนตรีที่มีความแตกต่างกัน 6) เครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องแต่งกายเป็นชุดเดรสคอกลม แขนสามส่วน สีเขียว โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเอกลักษณ์ของมาร์ธา เกรแฮม (Martha Graham) และสีเขียวเป็นสีที่สื่อถึงธรรมชาติหรือความร่มเย็น และให้ความรู้สึกการย่อยสลายในจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ 7) พื้นที่แสดง ใช้พื้นที่แบบปิดในลักษณะของโรงละครโพรซีเนียมเธียเตอร์ (Proscenium theatre) ร่วมกับการใช้ความเรียบง่าย (Simplicity) ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการตกแต่ง ต่อเติม หรือใช้อุปกรณ์ติดตั้งแบบถาวร เพื่อส่งเสริมการแสดงครั้งนี้ เทียบเคียงกับความเป็นธรรมชาติของพื้นที่จัดสรร ปราศจากการปรุงแต่ง และ 8) แสงในการแสดง ใช้แสงสีขาวและแสงสีเหลืองตลอดเวลาของการแสดง ร่วมกับการใช้เทคนิคพิเศษคือ การใช้เครื่องผลิตหมอก การเลือกใช้โทนสีเย็น เพราะเรื่องราวการแตกดับของมนุษย์ ถือเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ จึงมุ่งเน้นสีที่เรียบง่ายและชัดเจน ทั้งนี้รูปแบบของนาฏศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้ จัดเป็นนาฏศิลป์หลังยุคนวนิยมหรือที่รู้จักกันว่านาฏศิลป์หลังสมัยใหม่ (Postmodern dance)
          ผู้วิจัยได้จัดแสดงผลงานนาฏศิลป์สู่สาธารณชน มีผู้เข้าชมการแสดงมากกว่า 250 คน ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์สอนนาฏศิลป์ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา นักวิชาการนาฏศิลป์ ศิลปินอิสระ และบุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รูปแบบของนาฏศิลป์สร้างสรรค์ได้รับการยอมรับว่ามีความเหมาะสมจากสาธารณชน และในกระบวนการพัฒนาและสร้างสรรค์นาฏศิลป์ยังสามารถลดทอนองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ออกไปได้ โดยให้คงเหลือเพียงองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ แนวคิดการแสดง นักแสดง และการเคลื่อนไหว เพราะเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ในปัจจุบัน อีกทั้งในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการนำพื้นฐานความรู้จากการวิจัยนี้ไปสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงในรูปแบบอื่น เพื่อสร้างความเข้าใจ การยอมรับ การเสียสละ และการมองโลกอย่างเป็นธรรมชาติตามหลักคิดของศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน

Downloads

References

กิติ ยิ่งยงใจสุข. (2539). มโนทัศน์เรื่องความตายในคัมภีร์จวงจื๊อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ คุ้มมณี. (2560). บทอัศจรรย์: นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากแนวคิดวรรณคดีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรากร จันทนะสาโร. (2558). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพดล อินทร์จันทร์. (2545). กระบวนการในการออกแบบแสง. ใน การแสดงและการออกแบบ. หน้า 71-86. กรุงเทพมหานคร: ไอเดียสแควร์.

นพดล อินทร์จันทร์. (2548). ศิลปะของการจัดแสงบนเวที. ใน การแสดงและนาฏศิลป์. หน้า 77-95. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการ พิมพ์.

นราพงษ์ จรัสศรี. (2561, 7 มิถุนายน, 19 ตุลาคม และ 6 พฤศจิกายน). ศาสตราจารย์ทางด้านนาฏศิลป์สร้างสรรค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์โดย ธรากร จันทนะสาโร ที่ห้องเรียนดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักษ์สินี อัครศวะเมฆ. (2561, 11 กันยายน และ 8 ตุลาคม). อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์โดย ธรากร จันทนะสาโร ที่ห้องสำนักงานสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิไลลักษณ์ สายเส่นห์. (2537). การศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเกี่ยวกับการตายและการเกิดใหม่ในพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับนิกายวัชรยาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาปรัชญาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สทาศัย พงศ์หิรัญ. (2561, 11 กันยายน และ 8 ตุลาคม). หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์โดย ธรากร จันทนะสาโร ที่ห้องสำนักงานสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Acocella, J. (2011). Imaging dance. In Moving history, dancing cultures: A dance history reader. pp. 12-16. Connecticut: Wesleyan University Press.

Dils, A., & Albright, A., editors. (2001). Moving history, dancing cultures: A dance history reader. Connecticut: Wesleyan University Press.

Ham, R. (1987). Theatre: Planning guidance for design and adaptation. New York: Cambridge University Press.

Pearlman, E. (2002). Tibetan sacred dance: A journey into the religious ad folk traditions. Rochester: Inner Traditions.

Reeve, J. (2011). Dance improvisation: Warm-ups, games and choreographic tasks. USA: Human Kinetics.

Downloads

Published

2020-12-29

How to Cite

Chandnasaro, D. (2020). THE DANCE FROM VIEWPOINT OF DEATH IN TIBETAN VAJRAYANA BUDDHISM. Institute of Culture and Arts Journal, 22(1), 112–125. retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/192798

Issue

Section

Research Articles