การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสำนึกสาธารณะ ในนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒAN ANALYSIS OF STRUCTURAL CAUSAL RELATIONSHIP OF FACTORS INFLUENCING ON PUBLIC MIND OF UNDERGRADUATE STUDENTS, SRINAKHARINWI
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสำนึกสาธารณะในนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 596 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (SEM) ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบของปัจจัยทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับจิตสำนึกสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.10 - 0.77 และรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามทฤษฎีนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรเชิงสาเหตุอธิบายจิตสำนึกสาธารณะได้ร้อยละ 55.00 ตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมต่อจิตสำนึกสาธารณะมากที่สุด ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การรับรู้ความสามารถของตน เจตคติต่อจิตสำนึกสาธารณะ และการสนับสนุนทางสังคมจากมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญ เท่ากับ 0.47, 0.42, 0.33, 0.29 และ 0.18 ตามลำดับ สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อจิตสำนึกสาธารณะมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตน รองลงมา คือ เจตคติต่อจิตสำนึกสาธารณะ การสนับสนุนทางสังคมจากมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญ เท่ากับ 0.33, 0.29, 0.15 และ 0.13 ตามลำดับ ส่วนการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อจิตสำนึกสาธารณะ สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อจิตสำนึกสาธารณะมากที่สุด ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว รองลงมา คือ ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญ เท่ากับ 0.51และ 0.34 ตามลำดับ ส่วนการสนับสนุนทางสังคมจากมหาวิทยาลัยไม่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อจิตสำนึกสาธารณะ
คำสำคัญ : จิตสำนึกสาธารณะ เจตคติต่อจิตสำนึกสาธารณะ
Abstract
This research intended to study structural causal relationship of factors influencing on public mind of 596 undergraduate students, Srinakharinwirot University. The data were analyzed by structural equation modeling (SEM). The research findings were positive relationships between factors of all causal variables and public mind with significant at .01 and .05 level and their correlation coefficients were between 0.10 - 0.77 and the structural relationship model fit with the empirical data that causal variables explain public mind 55.00 percents. The most total effect of variable influencing on public mind was future orientation - self control and then were social supporting from family, self-efficacy, attitude to public mind and social supporting from university with significant at .01 and total effect at 0.47, 0.42, 0.33, 0.29 and 0.18 respectively. For the most direct effect of variable influencing on public mind was self - efficacy and then were attitude to public mind, social supporting from university with significant at .01 and future orientation - self control with significant at .05 and direct effect size at 0.33, 0.29, 0.15 and 0.13 respectively and social supporting from friends and social supporting from family had not direct effect. The most indirect effect of variable influencing on public mind was social supporting from family and then were future orientation - self control with significant at .01 and indirect effect size at 0.51 and 0.34 respectively and social supporting from university had not indirect effect.
Keywords: Public Mind, Attitude to public mind
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ