การแปรรูปบทละครเรื่องอิเหนา THE TRANSFORMATION OF INAO
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแปรรูปบทละครเรื่องอิเหนา จากบทละครในเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สู่บทละครเรื่องอิเหนา 3 สำนวน ได้แก่ บทเจรจาเรื่องอิเหนา บทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา และละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า บทละครเรื่องอิเหนา 3 สำนวนในสมัยหลังได้รับอิทธิพลจากบทละครในเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยยังคงสืบทอดลักษณะสำคัญ ได้แก่ โครงเรื่อง ตัวละครสำคัญ และฉากสำคัญ ขณะเดียวกันก็มีการสร้างสรรค์ลักษณะเด่นของแต่ละสำนวนให้เหมาะสมกับยุคสมัยและประเภทของบทละคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา ผู้เขียนบทเน้นลักษณะละครแนวแฟนตาเซีย เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่รู้จักวรรณคดีเรื่องอิเหนา จึงตีความเรื่องอิเหนาและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ การนำเสนอบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การนำเสนอฉากสำคัญของเรื่อง การสร้างตัวละครสำคัญ และการนำเสนอภาพสังคมปัจจุบัน การศึกษาการ แปรรูปบทละครเรื่องอิเหนาทั้ง 4 สำนวนนี้ทำให้เห็นการดำรงอยู่ของเรื่องอิเหนาในสังคมไทย ซึ่งมีทั้งการสืบทอดและสร้างสรรค์ลักษณะเด่นให้เหมาะแก่ยุคสมัย เพื่อนำวรรณคดีมรดกมานำเสนอแก่คนต่างสมัย
คำสำคัญ: การแปรรูป, อิเหนา
Abstract
This research aims to study the transformation of Inao from Bot Lakhon Nai (the royal court dance drama play) version by King Rama II into other three versions, namely Bot Cheracha (the dialogue), Bot Lakhon Duek Damban (the Duek Damban dance drama play), and the television series ‘Sut Huachai Chaochai Thewada’. The methods used are document analysis and interview. The finding will be presented by analytical description. The study finds that Bot Cheracha, Bot Lakhon Duek Damban and the television series were clearly influenced by Bot Lakhon Nai of King Rama II in terms of plot, main characters, and important scenes. However, the story was adapted to suit the genres and periods, especially the television series ‘Sut Huachai Chaochai Thewada’ which seemed to be more fantasy and ‘modern’ in order to interest the young generation. The transformation of Inao into many versions demonstrates the significance and persistence of this story in Thai society. The story has been transmitted and adapted to suit the audience in different periods.
Keywords: Transformation, Inao
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ