การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของฮีตสิบสองคองสิบสี่: กรณีศึกษา หมู่บ้านชำโสม จังหวัดปราจีนบุรี PERSISTENCE AND CHANGE IN THE THAI TRADITIONS OF HEET 12 KONG 14 : A CASE STUDY OF CHAMSOM VILLAGE, PRACHINBURI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • นพดล พรามณี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มจากชาวบ้านในหมู่บ้านชำโสม จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อฮีต – คอง 2) การอธิบายฮีต – คองในบริบทใหม่ของสังคมปัจจุบัน และ 3) ความเป็นไปได้ในการนำฮีต – คอง มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนให้คุณค่าและความหมายของฮีต – คอง ผ่านความสามัคคีในชุมชน ความอบอุ่นในครอบครัว และความเป็นระเบียบในชุมชน โดยชุมชนเชื่อว่า ฮีต – คองสามารถดำรงอยู่ได้เนื่องจากคนในชุมชนมีความเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และการปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของสังคม ส่วนการเปลี่ยนแปลงของฮีต – คอง มีสาเหตุมาจากการไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม การขาดผู้นำในการสืบสาน การรับเอาวัฒนธรรมต่างถิ่นเข้ามาเผยแพร่ และบทบาทของสมาชิกในครอบครัวที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฮีต – คองต่อวิถีชีวิตในชุมชน ชาวบ้านเห็นว่าความมีน้ำใจไมตรีของคนในชุมชนลดลง สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนไป และการเคารพนับถือกันน้อยลง ดังนั้น การนำฮีต – คองมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคมจึงควรใช้ยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ความสามัคคีปรองดอง ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟู ฮีต – คอง และยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ซึ่งทุกคนในหมู่บ้านควรร่วมกันทำยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบ อันจะส่งผลให้มีการสร้างงานเกิดขึ้นในชุมชน และส่งผลให้ฮีต – คองคงอยู่ในชุมนุมและในประเทศชาติสืบต่อไป

คำสำคัญ : ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ (ฮีต – คอง) การคงอยู่ การเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรม จารีตประเพณี

Abstract

This qualitative research case study used in-depth interviews and a focus group to gather data on Thai traditions and customs known as Heet 12 Kong 14 (Heet-Kong) in Chamsom Village, Prachinburi Province. The purposes of this study were: 1) study the social changes affecting Heet-Kong, 2) explain Heet-Kong in the context of current Thai society, and 3) examine the possibility of applying Heet-Kong to solve social problems. The Chamson community values Heet-Kong in terms of community unity, the warmth of the family, and the regularity of the community. Heet-Kong’s relevance the Chamson community continues due to the Buddhist religion, traditional beliefs, and the adaptability of Heet-Kong to social change. Heet-Kong has changed because of constraints on Heet-Kong activities, limits on elders’ transfer of Heet-Kong wisdom, encroachment of other cultures, and the changing roles of family members. Heet-Kong’s influence on village life has declined due to: declines in the spirit of generosity in the community, changes in the roles of family relationships, and a decline in the levels of respect displayed by villagers. To keep Heet-Kong relevant and apply it to solving community problems requires following three strategies: unity strategy, conservation strategy, and knowledge management strategy. Following these three strategies should enable Chamson village to be an example of a “best practice community” in terms of using Heet-Kong custom and traditions, allowing its adaption and continuing relevance to other communities in Thailand. A vibrant Heet-Kong community may also assist in creating employment opportunities.

Keywords: Heet 12 and Kong 14 (Heet-Kong), social change, tradition, culture, customs

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

นพดล พรามณี

ศูนย์บัณฑิตศึกษานานาชาติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads