คติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยมีอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนากันแน่? WHERE DOES A WORSHIP OF RUKKHATEWADA IN THAI SOCIETY GET AN INFLUENCE FROM HINDUISM OR BUDDHISM?
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การที่รุกขเทวดา คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีและไม่มีใครที่ไม่รู้จัก แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความเชื่อเรื่องรุกขเทวดาอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน คนในสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนแต่กลับมีการบูชาเทวดาอย่างรุกขเทวดาจึงเป็นสิ่งที่ขัดแย้งในความเป็นพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าคงด้วยสังคมไทยตั้งแต่สมัยโบราณถูกอิทธิพลจากอารยธรรมเอเชียใต้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมคือการเข้ามาของศาสนาฮินดูกับพุทธศาสนา ด้วยทั้งสองศาสนามีการกล่าวถึงรุกขเทวดาจึงมีความเป็นไปได้ว่า คติความเชื่อในการบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยอาจมาจากอิทธิพลของทั้งสองศาสนา แต่ตามความเป็นจริงแล้วการบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยนั้นแปรสภาพมาจากการนับถือผีในธรรมชาติของคนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณ หรือมาจากลัทธินับถือผี และด้วยอิทธิพลของทั้งสองศาสนาที่เข้ามาในภายหลังจึงมีการผนวกผีให้กลายเป็นเทพหรือเทวดาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานั้นไปโดยปริยาย ซึ่งมีลักษณะเช่นนี้เป็นการหลอมรวมทางคติความเชื่อเรื่องพุทธ พราหมณ์ ผี เป็นหนึ่งเดียวจนแยกไม่ออก
คำสำคัญ : รุกขเทวดา ศาสนาฮินดู พุทธศาสนา ผี
Abstract
Rukkhatewada is one sacred god that is very well-known to Thai people. This means that Thai people have long relied on Rukkhatewada. In spite of the fact that the majority of Thai people are Buddhists their worship of Hinduism gods and deities is widely spread. The reason might be the big influence from South Asia that brought to Thailand Hinduism and Buddhism long time ago. It is possible that the worship of Rukkhatewada is from both faiths since Rukkhatewada has been mentioned by both of them. However, the fact is that the worship of Rukkhatewada in Thai society has been influenced by the South East Asian belief in ghosts or the doctrine of Holy Spirit since ancient time. Then, when both religious systems arrived later, the ghosts have been synthesized as the religious sy6neretism which has worshiped as gods and deities.
Keywords : Rukkhatewada, Hinduism, Buddhisim, Spirits
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ