การวิเคราะห์บทบาทของไฟเพื่อการพิสูจน์จากวรรณกรรมและงานนาฏยศิลป์

ผู้แต่ง

  • ตวงพร มีทรัพย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, ไฟกับมนุษย์, วรรณกรรมไทย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟ กับมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1.เพื่อหาแนวทางในการสร้างรูปแบบการแสดงผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อ การตีความ การแสดงเรื่องไฟกับมนุษย์ในวรรณกรรมไทย และ 2.เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการแสดง ผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อ การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับมนุษย์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพดังนี้ 1.เก็บรวบรวมข้อมูลด้านเอกสาร 2.เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ 3.เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามแบบมีส่วนร่วม 4.สื่อสารสนเทศ 5.เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และ 6.ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย
         ผลการวิจัยพบว่า ไฟที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในวรรณกรรม ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงการแฝงความหมาย รวมไปถึงใช้ไฟ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ในวรรณกรรม เช่น การใช้ไฟเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดี เพื่อเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ เพื่อการเสี่ยงทาย เพื่อกลอุบาย และเพื่อการชุบชีวิต เป็นต้น ผู้วิจัยค้นพบแนวทางการสร้างรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานโดยเลือกนำเอาไฟที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ในด้านวรรณกรรมเป็นตัวตั้งต้น ดำเนินการศึกษาจากวรรณกรรมที่มีสาระสำคัญของการใช้ไฟในการพิสูจน์ต่าง ๆ เพื่อสื่อถึงการนำความร้อนของไฟมาใช้เป็นบททดสอบความบริสุทธิ์ จนได้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจเพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ต่อไป                                                                                                                  ในงานนาฏยศิลป์องก์ที่ 1 ผู้วิจัยมุ่งเน้นการนำเอาลักษณะเด่นของไฟในด้านการใช้เพื่อพิสูจน์ ความบริสุทธิ์ จากวรรณกรรมมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำเค้าโครงเรื่องจากการศึกษาวรรณกรรมเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอนนางสร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ ที่ต้องเข้าร่วมพิธีลุยไฟจากการให้ร้ายของผู้อื่น และกระบวนการในการเข้าพิธีลุยไฟ จากการศึกษาวรรณกรรมเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามเชิญนางสีดากลับ อโยธยาด้วยกัน กล่าวคือด้วยพลังแห่งความบริสุทธิ์ส่งผลให้ผู้พิสูจน์เดินผ่านกองไฟไปอย่างง่ายดาย จากการศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนนางสร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ ผู้วิจัยเห็นความสำคัญของ   แง่คิดที่ได้จากการศึกษามาสร้างสรรค์ตอนท้ายของการแสดง โดยกำหนดให้เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้ว เหล่าคนที่ใส่ร้ายจึงถูกเถ้าถ่านของกองไฟนั้นเผาทำลายตนเอง นับเป็นการดึงประเด็นสะท้อนสังคมที่สำคัญจากวรรณกรรมมาสร้างสรรค์เป็นผลงานนาฏยศิลป์ที่แสดงให้เห็นว่าสังคมในปัจจุบันแม้มีผู้คิดร้าย สุดท้ายก็จะแพ้แก่คุณความดีและความถูกต้องในที่สุด

References

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. (2545). เล่าเรื่องรามเกียรติ์จากจิตรกรรมฝาผนังรอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงแดดเพื่อเด็ก.

บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพชรกะรัต.

พรชีวิน มลิพันธุ์. (2549). กินรี:สุนทรียภาพในงานศิลปะและวรรณกรรม. พระนคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). เล่าเรื่องขุนช้าง ขุนแผน จากเสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธารปัญญา.

วรรณวิภา มัธยมนันท์. (2561, มกราคม–มิถุนายน 2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากแนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 19(2): 83-93.

ศุภกิจ นิมมานนรเทพ และ จงจิต นิมมานนรเทพ. (2553). บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

____________. (2553). บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่มที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2559). ขุนช้างขุนแผนฉบับชำระใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แสงดาว.

อภิโชติ เกตุแก้ว. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์อินเดียและนาฏศิลป์ร่วมสมัย. สัมภาษณ์วันที่ 12 กันยายน 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29