จ่าง แซ่ตั้ง : ตัวตนกับการสร้างผลงานศิลปะ
คำสำคัญ:
จ่างแซ่ตั้ง, คลังข้อมูลส่วนบุคคล, ศิลปะนามธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้ให้ความสนใจไปที่การศึกษาจากข้อเขียนและบันทึกของจ่างในฐานะคลังข้อมูลส่วนบุคคล (personal archive) อันสะท้อนให้เห็นมุมมอง ทัศนคติ และตัวตนของจ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินคนสำคัญผู้ไม่ได้ผ่านการศึกษาในระบบการศึกษาศิลปะ โดยต้องการเสนอให้เห็นถึงแนวคิดเบื้องหลังในการสร้างผลงานศิลปะของจ่าง ซึ่งการสร้างผลงานศิลปะโดยเฉพาะศิลปะนามธรรมของจ่างเป็นเจตจำนงและความตั้งใจของจ่างที่ถูกหล่อหลอมจากความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนและการให้ความสำคัญกับการริเริ่มสร้างสรรค์โดยปัญญาของตนเอง จ่างเสนอแนวคิดเรื่องศิลปะบริสุทธิ์ในฐานะของการเป็นผลงานศิลปะที่บริสุทธิ์จากการลอกเลียนแบบหรือทำซ้ำ ผู้อื่น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวถือเป็นพื้นฐานในการสร้างผลงานโดยเฉพาะงานจิตรกรรมนามธรรมอันเป็นผลงานสร้างชื่อให้กับจ่าง
Downloads
References
จ่าง แซ่ตั้ง. (ไม่ปรากฏปี). ทัศนศิลป์ - ทัศนกวี. นครปฐม : พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง (เอกสารอัดสำเนา).
จ่าง แซ่ตั้ง. (2533). ทัศนศิลป์ กวีนิพนธ์. กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์.
จี วิลเลี่ยม สกินเนอร์. (2529). สังคมจีนในประเทศไทย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. (พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ
: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
สุธี คุณาวิชยานนท์. (2545). จากสยามเก่า สู่ไทยใหม่ : ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่และร่วมสมัย.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อำนาจ เย็นสบาย. (2524). ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมร่วมสมัยของรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการ ฝึกหัดครู.
Cacchione, Orianna. (2018). Tang Chang The Painting That is Painted with Poetry is Profoundly
Beautiful. Chicago : Smart Museum of Art.
Clark, John. (1993). Modernity in Asian Art. Sydney : Wild Peony.
Poshyananda, Apinan. (1992). Modern art in Thailand : Nineteenth and Twentieth Centuries. New York
: Oxford University Press.
Teh, David. (2017a). The Preter-National: The Southeast Asian Contemporary and What Haunts It.
ARTMargins, 6(1), 33-63.
_________(2017b). Misfits : Pages from loose-leaf modernity. Berlin : Haus der Kulturen der Welt.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ